ตั้งชื่อแบรนด์ให้ปัง คนจำง่าย ทำอย่างไร

Last updated: 28 เม.ย 2566  |  3008 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ตั้งชื่อแบรนด์ให้ปัง คนจำง่าย ทำอย่างไร

เข้าใจยาก = คนไม่จดจำ
เข้าใจง่าย = คนจดจำได้ดี


     หลักคิดง่ายๆ แต่สามารถนำมาปรับใช้กับการตั้งชื่อแบรนด์ได้ดี เพราะในแต่ละวัน คนเราต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารปริมาณมหาศาล สมองของเราจึงเลือกรับรู้และจดจำข้อมูลที่เข้าใจง่ายมากกว่าเข้าใจยาก ถ้าเผลอตั้งชื่อแบรนด์หลายพยางค์ อ่านยาก รับรองว่าคนส่วนใหญ่จำไม่ได้แน่นอน

“การตั้งชื่อแบรนด์ที่ดี ควรใช้คำสั้นๆ เพียง 2-3 พยางค์ และออกเสียงได้ชัดเจน เพื่อทำให้คนอ่านรู้สึกคล่องปาก จดจำได้ง่าย”

     นอกจากจำนวนคำจะมีผลต่อการจดจำชื่อแบรนด์แล้ว ควรตั้งชื่อให้น่าสนใจ มีเอกลักษณ์ แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆในท้องตลาด โดยอาจใช้ลูกเล่นจากคำพ้องรูป-คำพ้องเสียง ก็สามารถช่วยให้ชื่อดูมีเสน่ห์น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ยังทำให้มีโอกาสชื่อซ้ำกับแบรนด์อื่น สินค้าอื่นน้อยลงอีกด้วย เช่น

 

1.คำว่า Detox กับ Dtox ในภาษาอังกฤษ

และ Détoxifier ในภาษาฝรั่งเศส

สื่อถึงความเป็นผลิตภัณฑ์ช่วยขจัด ทำความสะอาดสารพิษออกจากผิว

 
2.คำว่า Nature และ Natural ในภาษาอังกฤษ

กับ La Nature ในภาษาฝรั่งเศส

และ Natura ในภาษาอิตาลี

สื่อถึงความเป็นสารสกัดธรรมชาติ มีความปลอดภัยต่อผิว

 
3.คำว่า Beauty และ Beautiful ในภาษาอังกฤษ

กับ Beau , Beauté ในภาษาฝรั่งเศส

และ bello , Bellezza ในภาษาอิตาลี

สื่อความหมายถึง ความสวย ความงดงาม


 
     ซึ่งการตั้งชื่อแบบนี้ มีข้อดีคือสามารถสื่อความหมายถึงสินค้าหรือแบรนด์ได้ในทันทีอีกด้วย หลังจากได้ชื่อแบรนด์ที่ต้องการ เราจะต้องยื่นขอจดทะเบียนชื่อกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลเครื่องสำอางให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยหลักเกณฑ์การตั้งชื่อแบรนด์ และชื่อเครื่องสำอาง ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 มีข้อกำหนดสำคัญดังต่อไปนี้



•ชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษต้องมีความหมายสอดคล้องตรงกัน หรือใช้คำทับศัพท์

•ต้องไม่ใช้ข้อความไปในทำนองโอ้อวด ไม่สุภาพ หรือ อาจทำให้เข้าใจผิดจากความจริง

•ต้องไม่ใช้ข้อความ ที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย หรือส่อไปในทางทำลายคุณค่าของภาษาไทย เช่น ใช้คำสื่อเรื่องเพศสัมพันธ์

•ไม่ใช้คำที่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ เกินขอบเขตความเป็นเครื่องสำอาง เช่น สื่อถึงการบำบัด รักษา หรือมีคำพ้องกับชื่อผลิตภัณฑ์ยา เช่น Botox , Botox – Liked และ STEMCELL

•การใช้สรรพคุณเป็นชื่อเครื่องสำอาง ต้องมีสารที่มีสรรพคุณตามที่กล่าวอ้าง และมีปริมาณที่เพียงพอตามที่ระบุไว้ในฉลาก เช่น จดแจ้งคำว่า “SUNSCREEN/ UV PROTECTION” เป็นส่วนหนึ่งของชื่อ เมื่อในสูตรมีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด ประเภท Physical sunscreen และ Chemical sunscreen

•การกล่าวอ้างชื่อสารว่าเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ ต้องมีสารดังกล่าวเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้นจริง และมีปริมาณที่เพียงพอตามที่ระบุไว้ในฉลาก เช่น  ระบุว่า Vitamin C เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ได้ เมื่อในสูตรมีสาร Vitamin C and its derivatives เช่น Ascorbic acid, Ascorbyl palmitate

 

     นอกจากข้อกำหนดข้างต้น เราสามารถเช็คคำที่ห้ามนำมาใช้เป็นชื่อหรือส่วนหนึ่งของชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอางเพิ่มเติม ได้ที่ คลิก


     อย่างไรก็ตาม นอกจากการตั้งชื่อให้ถูกต้องตามข้อกฎหมายแล้ว ในทางโหราศาสตร์ มีความเชื่อว่า การตั้งชื่อแบรนด์ธุรกิจ ห้างร้านต่างๆที่มีความหมายดี ถูกโฉลกกับตนเอง จะช่วยส่งเสริมดวง เกื้อหนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจประสบความสำเร็จ ดังนั้นถ้าใครอยากตั้งชื่อให้ถูกโฉลกกับตนเอง เฮงๆ รับทรัพย์ อ่านต่อได้ที่ ชื่อมหามงคล 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้