Business Analysis วางแผนธุรกิจก่อนเริ่มลงมือ

Last updated: 28 เม.ย 2566  |  3001 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Business Analysis วางแผนธุรกิจก่อนเริ่มลงมือ

     ปัจจุบันเทรนด์ความงามจากธรรมชาติเป็นที่สนใจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ประเทศไทยมี ‘เทรนด์ผู้สูงอายุ’ เครื่องสำอางสำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นตลาดที่น่าจับตามองอย่างมาก เทรนด์ที่น่าสนใจรองลงมา คือ สกินแคร์สำหรับคุณผู้ชาย และเวชสำอาง หลังจากมีประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ทำให้ผู้คนใช้ชีวิตผ่อนคลายมากขึ้น เศรษฐกิจกลับมาเติบโต เครื่องสำอางเป็นที่ต้องการมากขึ้นโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและป้องกันแสงแดด ยิ่งออกนอกบ้านมากขึ้นผิวยิ่งต้องการการปกป้องและบำรุง จึงเป็นโอกาสที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มาพร้อมนวัตกรรมดูแลผิว เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยสถานการณ์เครื่องสำอางในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูง จึงต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลายมาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต วางเป้าหมายได้ถูกกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที



โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ทางการตลาดวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบ Marketing Mix หรือ ทฤษฎี 4P

 Product (สินค้า) หมายถึง สินค้า (Goods) และบริการ (Services)

 Price (ราคา) คือ สิ่งที่กำหนดมูลค่าของสินค้าในรูปแบบของเงินตรา

 Place (สถานที่/ช่องทางการจำหน่าย) เช่น การขายผ่านหน้าร้าน การขายผ่านการสั่งซื้อ การขายผ่านพ่อค้าคนกลาง

 Promotion (ส่งเสริมการตลาด) คือ การโฆษณาในสื่อต่างๆ เพื่อชักจูงใจผู้ซื้อ

 

TNP COSMECEUTICAL จึงได้รวบรวม 4 วิธีวิเคราะห์แนวทางตอบโจทย์เพื่อใช้ดำเนินธุรกิจของลูกค้า ดังนี้

1.Canvas Model

โมเดลที่ทำให้เห็นภาพรวมของการทำธุรกิจได้อย่างรวดเร็วภายในกระดาษแผ่นเดียว โดยตอบคำถามสำคัญ 4 เรื่อง คือ Who, What, How, Money

Customer Segments (ลูกค้า/กลุ่มเป้าหมาย) กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่จะซื้อสินค้าของเรา ต้องระบุชัดเจน เช่น ช่วงวัย เพศ ต่างจังหวัดหรือในเมือง

Customer Relationships (การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า) เพื่อให้เกิดการบอกต่อสินค้า และรักษาฐานลูกค้า เช่น การตอบคำถามลูกค้าช่องทางออนไลน์ การทำ Chatbot การเคลมสินค้าเมื่อมีปัญหา

Channels (ช่องทางในการจัดจําหน่าย) เช่น การขายผ่านหน้าร้าน การสั่งซื้อออนไลน์ ช่องทางการขนส่งสินค้า รวมถึงช่องทางการโฆษณาสินค้า

Value Propositions (คุณค่าของสินค้า) คือ คุณค่าของสินค้าที่จะส่งมอบให้ลูกค้า เช่น คุณภาพของสินค้าที่แก้ปัญหาของลูกค้าได้ถูกจุด ช่องทางการสั่งซื้อสะดวก 

Key Activities (กิจกรรมหลัก) คือ ขั้นตอนการขับเคลื่อนธุรกิจ

Key Resources (ทรัพยากรหลัก) ทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจ เช่น เงินลงทุน สถานที่ขายสินค้า บุคคล

Key Partner (คู่ค้าหลัก) คือ หุ้นส่วนทางธุรกิจ เช่น การคัดเลือกโรงงานที่มีคุณภาพในการผลิตสินค้า

Cost Structure (โครงสร้างต้นทุน) เช่น ต้นทุนในการผลิตสินค้า ต้นทุนพนักงาน ต้นทุนค่าเช่าที่ ต้นทุนโฆษณา ต้นทุนการส่งสินค้า

Revenue Streams (กระแสรายได้) คือ รายได้จากการจำหน่ายสินค้า

 

 

2.SWOT Analysis

เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก ช่วยกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน วิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก

 Strengths (จุดแข็ง) หมายถึง ข้อดีและจุดเด่นของเราที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น เป็นสถานการณ์ภายในของเรา เช่น มีนักวิจัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเครื่องสำอาง มีนวัตกรรมเครื่องสำอาง

 Weaknesses (จุดอ่อน) หมายถึง ข้อด้อยที่ทำให้เราเสียเปรียบคนอื่น ไม่สามารถนำมาใช้ทำประโยชน์ได้ เช่น ขาดบุคคลและความรู้ในการทำการตลาด

 Opportunities (โอกาส) หมายถึง เหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้อประโยชน์ต่อเรา เช่น เทรนด์เครื่องสำอางจากธรรมชาติ สกินแคร์รักษ์ปะการัง

 Threats (อุปสรรค) หมายถึง ข้อจำกัดหรือสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางและเป็นปัญหาต่อธุรกิจ เช่น มีคู่แข่งจำนวนมาก

 

3.PESTLE Analysis

คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงในแต่ละด้านอย่างละเอียดกับสถานการณ์ปัจจุบัน

 Political (การเมือง) ในส่วนของเครื่องสำอางมีการออกกฎหมายใหม่ การสนับสนุนสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก การปลดล็อกยาเสพติด ‘กัญชา กัญชง กระท่อม’ 

 Economics (เศรษฐกิจ) หลังโควิด-19 เศรษฐกิจต่างๆ มีการฟื้นตัวขึ้น รวมถึงธุรกิจความงาม โดยตลาดความงามในประเทศไทยมีขนาดเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาค ปี 2564 เติบโต 5% มูลค่ารวม 1.447 แสนล้านบาท กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีการผลักดันการส่งออกเครื่องสำอางไทยอย่างต่อเนื่อง 

 Social (สังคม) ไทยอยู่ในสังคมผู้สูงอายุ และปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจในสุขภาพมากขึ้น ดูแลตัวเองมากขึ้นเพื่อให้ดูดี มั่นใจ มีความต้องการในด้านความงานอย่างต่อเนื่อง ตลาดเครื่องสำอางจึงมีการแข่งขันกันทั้งในเรื่องของราคาและคุณภาพที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้

 Technology (เทคโนโลยี) เมื่อก่อนไทยเป็นผู้ตามในตลาดเครื่องสำอาง เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน วัตถุดิบในการผลิตส่วนมากต้องนำเข้ามาผลิตในประเทศ ปัจจุบันในประเทศเริ่มมีนวัตกรรมใหม่ๆ วัตถุดิบผลิตได้เอง เทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีด้านการตลาด เช่น ช่องทางออนไลน์ ช่วยให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น

 Legal (กฎหมาย) มีการบังคับใช้ พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ซึ่งมีความเข้มงวดมากขึ้น การจดแจ้งเครื่องสำอางเป็นระบบมากขึ้น มีบทลงโทษที่ชัดเจน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ช่วยให้สินค้าที่ออกสู่ตลาดมีมาตรฐานมากขึ้น

 Environmental (สิ่งแวดล้อม) สารที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอางต้องปลอดภัยกับทั้งผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม สารสกัดจากธรรมชาติต้องไม่ก่อให้เกิดการทำลายป่า หรือรบกวนสมดุลของระบบนิเวศ ควรส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะปลูกในพื้นที่การเกษตร ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า สร้างความยั่งยืนในชุมชน

 

4.Five Forces Model

ใช้เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของตลาดว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงแค่ไหนในการทำธุรกิจ ช่วยให้ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและคู่แข่ง เห็นภาพแนวโน้มและภัยคุกคามภายในธุรกิจและทราบว่าธุรกิจนี้กำลังจะโตขึ้นหรือถดถอยลง

 Supplier Power (อำนาจต่อรองของผู้ผลิต) ผู้ผลิต คือ ผู้ผลิตวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอาง นักวิจัยต้องมีความเข้าในสารนั้นๆ เลือกสารจากแหล่งที่มีคุณภาพและราคาถูกที่สุด เพื่อให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง ยิ่งมีหลายแหล่งให้เลือก อำนาจในการต่อรองราคาของผู้ผลิตก็จะยิ่งน้อยลง

 Buyer Power (อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ) เนื่องด้วยปัจจุบันผู้ซื้อมีความรู้มากขึ้นจากการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ บนโลกออนไลน์ มีการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าตามรายได้ และด้วยความหลากหลายของเครื่องสำอาง ผู้ซื้อจึงสามารถเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจซื้อ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอางในหรือนอกประเทศ ยิ่งมีตัวเลือกมากก็ทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยนใจไปใช้แบรนด์อื่นๆ ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นอำนาจต่อรองของผู้ซื้อจึงมากขึ้นตามความหลากหลาย 

 Competitive Rivalry (การแข่งขันระหว่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน) ตลาดเครื่องสำอางมีมูลค่าสูงมากดังนั้นจึงมีการแข่งขันที่สูงมากเช่นกัน และไม่ว่าใครก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ได้ จึงดึงดูดผู้ที่สนใจและมองเห็นช่องว่างในตลาดนี้ เนื่องจากเครื่องสำอางจะเปลี่ยนเทรนด์ไปเรื่อยๆ ผู้ประกอบการเองก็ต้องตามเทรนด์ให้ทัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค แต่ละแบรนด์จึงต้องสร้างความแตกต่างเพื่อดึงดูดผู้บริโภค และสร้างข้อดีเพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่ง

 Threat of Substitution (ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน) คือ สินค้าคนละแบรนด์แต่การใช้งานและผลลัพธ์คล้ายหรือเหมือนกัน ช่วยเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น 

 Threat of New Entry (ภัยคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่) ตอนนี้การเป็นเจ้าของแบรนด์เป็นเรื่องง่ายมาก เพราะมีบริษัทรับจ้างผลิต (OEM/ODM) ช่วยให้คุณสร้างแบรนด์ได้อย่างครบวงจร ดังนั้นจึงเกิดคู่แข่งหน้าใหม่ได้ง่ายนั่นเอง

 

ก่อนจะขายสินค้าก็ต้องวิเคราะห์แนวทางตอบโจทย์แบรนด์ เพื่อให้ลูกค้าดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ ราบลื่น แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และยั่งยืน ให้ TNP COSMECEUTICAL เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของคุณในการเริ่มต้นสร้างแบรนด์เครื่องสำอาง ปรึกษาฟรี!

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้