share

Talk GURU เรื่องเครื่องสำอาง EP 3: 1 กรัม(g) กับ 1 มิลลิลิตร(ml) เท่ากันจริงหรือเปล่า

Last updated: 20 Jun 2024
6238 Views
Talk GURU เรื่องเครื่องสำอาง EP 3: 1 กรัม(g) กับ 1 มิลลิลิตร(ml) เท่ากันจริงหรือเปล่า

     คำถามยอดฮิตของใครหลายคน เวลาไปซื้อสกินแคร์ที่ใช้ตัวย่อหน่วยบอกปริมาณ บนฉลากไม่เหมือนกัน บางยี่ห้อใช้หน่วยเป็นมิลลิลิตร(ml) บางยี่ห้อก็ใช้หน่วยเป็นกรัม(g) ไม่รู้ว่าแตกต่างกันอย่างไร
     รวมทั้งข้อสงสัยสำหรับคนสร้างแบรนด์  “ซื้อเนื้อครีมจากโรงงานเป็น kg. หรือ g. แต่อยากระบุปริมาณข้างบรรจุภัณฑ์เป็น ml.” จะคำนวณอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาเฉลยครับ!!

หน่วยวัด “พื้นฐาน” ระบบเมตริก

• มิลลิลิตร (milliliter) คือ หน่วยของปริมาตร จำนวนพื้นที่ ของระบบเมตริก ใช้ตัวย่อ ml หรือ mL
• กรัม (gram) คือ หน่วยของมวล ปริมาณน้ำหนัก ของระบบเมตริก ใช้ตัวย่อเป็น g

สสารโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 สถานะ  คือ

1.ของแข็ง(Solid)
2.ของเหลว (Liquid)
3.แก็ส(Gas)

     ซึ่งของเหลวและแก็สอาจเรียกรวมกันว่า ของไหล (Fluid) ซึ่งสารแต่ละชนิดจะมีความหนาแน่น (Density) ที่บอกค่ามวลของสารในหนึ่งหน่วยปริมาตร 

นิยาม 1 ml = 1 g คือ คุณสมบัติของน้ำบริสุทธิ์ ปริมาณ 1 กรัม เมื่อนำไปเทลงกระบอกตวงจะได้ปริมาตร 1 ml เท่ากันเสมอ

แต่สำหรับเนื้อครีมจะมีความหนาแน่นที่แตกต่างกันออกไป ตามส่วนผสมที่ใส่ ทำให้เมื่อเราเทียบวัดปริมาณ เนื้อครีม 1 ml จะมีน้ำหนักไม่เท่ากับ 1 g

     ซึ่งในการคำนวณข้ามหน่วย เราจะต้องรู้ค่าความหนาแน่นของเนื้อครีมนั้นๆก่อน โดยใช้เครื่องมือเฉพาะทาง เรียกว่า Pycnometer หรือ Specific Gravity Bottle แล้วจึงนำค่าที่ได้ไปแทนค่าในสูตร เพื่อแปลงเป็นหน่วย g กับ ml

ที่มาภาพ : leybold-shop.com

ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อลูกค้าสั่งผลิตเนื้อครีม 1,000 g. กับทางโรงงาน แต่อยากระบุข้างบรรจุภัณฑ์ใช้หน่อยเป็น ml.


คำนวณความหนาแน่นของเนื้อครีมออกมา
1
 g = 1.5 ml.

ต้องการบรรจุขนาด 15 ml สินค้าที่ลูกค้าจะได้รับคือ 100 ชิ้น

1000 g. = 1500 ml.

     อย่างไรก็ตามนอกจากเครื่องมืออุปกรณ์ที่คำนวณวัดค่าได้แม่นยำแล้ว อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในกระบวนการผลิตครีม คือ การบรรจุเนื้อครีมให้ตรงตามสเปคที่กำหนดไว้ ซึ่ง TNPC ใช้เครื่องจักรที่มีระบบควบคุมปริมาณบรรจุ และตรวจสอบน้ำหนักเนื้อครีมแบบเรียลไทม์ ทำให้การบรรจุมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว แม่นยำ คลาดเคลื่อนต่ำ ได้มาตรฐานเท่ากันทุกชิ้นตรงตามที่ระบุไว้บนฉลากสินค้า และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเนื้อครีมส่วนเกินที่เกิดจากการบรรจุ

 

ลงทุนสร้างแบรนด์หลักหมื่น อย่าให้กำไรหาย เพราะการบรรจุครีมไม่ได้มาตรฐาน จะสร้างแบรนด์ทั้งที เลือกโรงงานรับผลิตครีมที่มีมาตรฐานสูง TNP Cosmeceutical คุ้มค่ากว่า สบายใจกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.24 การทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตอน การทดสอบทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation)
การที่จะออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสูตรใหม่นั้นไม่ง่ายเลย ต้องมีการทดสอบมากมาย และหนึ่งในการทดสอบที่สำคัญคือ การทดสอบทางประสาทสัมผัส เป็นเสมือนการทดลองใช้ก่อนวางขายจริง
6 Aug 2024
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.27 การจดแจ้งชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง (FDA Registration)
ชื่อเครื่องสำอางที่แปลกใหม่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ตัวผลิตภัณฑ์ แต่การจะตั้งชื่อได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายให้ถูกต้อง
25 Jun 2024
11 Ingredients ที่เป็นประเด็นกับความยั่งยืน
ด้วยสภาวะโลกที่ร้อนมากขึ้นและทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกอย่างจำกัด ทำให้เครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะยืนหยัดเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีหลายแบรนด์ที่เปลี่ยนส่วนผสมเครื่องสำอางที่ไม่ยั่งยืนให้ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้ใช้
25 Jun 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ