share

Update! ตลาดครีมกันแดด จะเป็นอย่างไร ในยุคที่กฎหมายห้ามใช้สารอันตรายต่อปะการัง

Last updated: 20 Jun 2024
122 Views
Update! ตลาดครีมกันแดด จะเป็นอย่างไร ในยุคที่กฎหมายห้ามใช้สารอันตรายต่อปะการัง

      ครีมกันแดด เป็นไอเท็มสำคัญที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงเวลาไปเที่ยวทะเล ดำน้ำ ดูปะการัง หลายคนจึงเน้นเลือกครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อปกป้องผิวของเราจากรังสียูวี แต่รู้ไหมว่า ครีมกันแดดที่เราใช้นั้นอาจมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในท้องทะเลได้
     ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ ได้กำหนดเรื่องห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่อปะการัง เข้าไปในอุทยานแห่งชาติ หากผู้ใดฝ่าฝืน มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท!!
    อ่านมาถึงตอนนี้ หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า ครีมกันแดดทำร้ายปะการังได้อย่างไร สารประเภทไหนที่ห้ามใช้ แบบไหนที่ยังใช้ได้ เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลยครับ

 "ทำไม ครีมกันแดด กลายเป็นผู้ร้ายทำลายปะการัง"


ที่มาภาพ : greenworld

     หนึ่งในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ Archives of Environmental Contamination and Toxicology คาดการณ์ว่า ทุกปีมีครีมกันแดดมากถึง 14,000 ตัน ปนเปื้อนลงสู่น้ำทะเลทั่วโลก ซึ่งนักวิจัยพบว่า สารกันแดดประเภท Oxybenzone , Octinoxate , 4-Methylbenzylid Camphor และสารกันเสีย Butylparaben ในผลิตภัณฑ์กันแดด เมื่อถูกชะล้างจะตกค้างอยู่ในทะเล กลายเป็น "Swimmer Pollution" ทำลายแหล่งปะการังให้เสื่อมโทรม ขัดขวางระบบสืบพันธุ์ และยังทำให้ปะการังเกิดการป่วยหรือที่เรียกว่าภาวะฟอกขาว ก่อนจะตายลงในเวลาต่อมา 

สำหรับประเทศไทย ประกาศกฎหมายห้ามใช้สาร   4 สารต้องห้ามในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ

1. Oxybenzone (Benzophenone-3)
2. Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate)
3. 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC)
4. Butylparaben (สารกันเสีย)

     มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. 64 เป็นต้นมา เพื่ออนุรักษ์ ป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อปะการังและระบบนิเวศน์ใต้ทะเล ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าว อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการทำให้คนส่วนใหญ่ในสังคมไทย หันมาใส่ใจเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

     ทั้งนี้ใครมีเเพลนกำลังจะไปเที่ยวทะเล หรือ เข้าเขตอุทยานแห่งชาติ อย่าลืมเช็คครีมกันแดดที่ใช้อยู่ให้ชัวร์ก่อน โดยสังเกตุคำว่า Reef Safe บนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือ พลิกดูส่วนผสมของผลิตภัณฑ์นั้นๆว่ามีอะไรบ้าง ถ้าไม่มีสารต้องห้ามที่กรมอุทยานแห่งชาติประกาศ ก็มั่นใจได้ว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างแน่นอน


Reef-Safe Sunscreen ดีต่อผิว เป็นมิตรต่อปะการัง

ปัจจุบัน ครีมกันแดดที่เคลมว่าไม่ทำร้ายปะการัง ในท้องตลาด มีทั้งประเภทปกป้องผิวหน้าและผิวกาย แบรนด์นำเข้าจากต่างประเทศและของคนไทย โดยส่วนใหญ่ราคาจำหน่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 349 - 1,300 บาทต่อชิ้น เช่น Nivea และ Eucerin ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำสัญชาติเยอรมัน , We Are Feel Good Inc. แบรนด์รักษ์โลกจากออสเตรเลีย และ Innisfree สกินแคร์สัญชาติเกาหลีสุดฮิตที่คนไทยชื่นชอบ  ส่วนของไทยมีแบรนด์ Nangngam และ Rereef ที่กำลังวางจำหน่าย

 

      ใครที่กำลังอยากสร้างแบรนด์ อาจมอง กันแดดรีรีฟ เป็นทางเลือกใหม่ เพราะนอกจากจุดขายเรื่องประสิทธิภาพการป้องกันรังสียูวี ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำร้ายปะการังอีกด้วย เจาะกลุ่มได้ทั้งผู้บริโภคทั่วไปและสายเที่ยวธรรมชาติที่หลงรักท้องทะเล ทำให้ครีมกันแดดที่ปกติเป็นสินค้าขายดีอยู่แล้ว ขายดียิ่งขึ้นไปอีก


สร้างแบรนด์กันแดดครบวงจร กับโรงงานรับผลิตครีมชั้นนำ ที่ได้มาตรฐานส่งออก ISO22716 , GMP TUV NORD และ HALAL พร้อมเลือกพัฒนาสูตร ไม่ซ้ำใคร ในแบบของแบรนด์คุณ ด้วยทุนเริ่มต้นหลักหมื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.24 การทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตอน การทดสอบทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation)
การที่จะออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสูตรใหม่นั้นไม่ง่ายเลย ต้องมีการทดสอบมากมาย และหนึ่งในการทดสอบที่สำคัญคือ การทดสอบทางประสาทสัมผัส เป็นเสมือนการทดลองใช้ก่อนวางขายจริง
6 Aug 2024
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.27 การจดแจ้งชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง (FDA Registration)
ชื่อเครื่องสำอางที่แปลกใหม่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ตัวผลิตภัณฑ์ แต่การจะตั้งชื่อได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายให้ถูกต้อง
25 Jun 2024
11 Ingredients ที่เป็นประเด็นกับความยั่งยืน
ด้วยสภาวะโลกที่ร้อนมากขึ้นและทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกอย่างจำกัด ทำให้เครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะยืนหยัดเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีหลายแบรนด์ที่เปลี่ยนส่วนผสมเครื่องสำอางที่ไม่ยั่งยืนให้ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้ใช้
25 Jun 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ