แชร์

หายสงสัย สักที!! "ตัวย่อ I.U. บนฉลากสกินแคร์" คืออะไร ?

อัพเดทล่าสุด: 21 มิ.ย. 2024
4086 ผู้เข้าชม
หายสงสัย สักที!! "ตัวย่อ I.U. บนฉลากสกินแคร์" คืออะไร ?

     ปกติแล้วผลิตภัณฑ์ความงามที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย มักจะใช้หน่วยบอกปริมาณในฉลากเป็น กรัม (g) มิลลิกรัม(mg) แต่เวลาเลือกซื้อสกินแคร์ และเวชสำอางที่มาจากต่างประเทศหลายคนจะเห็นตัวย่อ IU อยู่บนฉลาก ทำให้เกิดความสงสัยว่ามันคืออะไร? ต่างจากหน่วยวัดทั่วไปอย่างไรบ้าง

     วันนี้  TNPC  หาคำตอบมาให้ครับ ไม่ต้องสับสนในการเดาความหมายอีกต่อไป

     "IU ย่อมาจากคำว่า International Unit" เป็นหน่วยสากล กำหนดขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO) เพื่อใช้เป็นหน่วยอ้างอิงในทางการแพทย์ สำหรับสารสำคัญที่มีผลออกฤทธิ์ต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งไม่สามารถกำหนดปริมาณ (Recommended doses) เป็นหน่วยน้ำหนัก ไมโครกรัม (mcg) มิลลิกรัม(mg) กรัม(g) เพราะอาจมีความคลาดเคลื่อน และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

     โดย IU จะกำหนดจากประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ เมื่อแตกตัวในร่างกาย ดังนั้น 1 IU ของสารแต่ละตัว จึงอาจมีปริมาณน้ำหนักสารออกฤทธิ์ไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่หน่วย IU จะใช้บ่งบอกกับตัวยา วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค ฮอร์โมน และใน ส่วนเครื่องสำอางที่มีวิตามินประเภทต่างๆ ที่เป็นส่วนผสมผลิตภัณฑ์สกินแคร์ รวมถึงอาหารเสริม

     อย่างที่เรารู้กันว่า วิตามินสามารถบำรุงร่างกายได้ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก และยังใช้เป็นส่วนผสมยอดฮิตในสกินแคร์อีกด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามกระบวนการในการดูดซึมของร่างกาย

1. วิตามินชนิด  ละลายในไขมัน  (Fat Soluble Vitamin) ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
2. วิตามินชนิด  ละลายในน้ำ  (Water Soluble Vitamin) ได้แก่ วิตามินบีทุกชนิด และวิตามินซี

     ทั้งนี้โดย ส่วนใหญ่หน่วย IU มักใช้กับวิตามินชนิดละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินอี เนื่องจากเป็นวิตามินที่มีโครงสร้างอนุพันธ์หลากหลายรูปแบบ มีผลต่อความเข้มข้นสารออกฤทธิ์ในร่างกาย ทำให้ในฉลากเวชสำอางอาหารเสริมต่างๆ จึงระบุวิตามินเหล่านี้เป็นหน่วย IU กำกับอยู่ด้วยเสมอ

 Vitamin A  โดดเด่นเรื่องช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัย และเสริมการผลัดเซลล์ผิวเสื่อมสภาพ ให้ผิวกระจ่างใส ดูเรียบเนียน นอกจากนี้ยังช่วยลดโอกาสในการเกิดสิวอุดตัน อนุพันธุ์วิตามินเอ มีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบวิตามินเรียกว่า เรตินอล (retinol) และ สารเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) ที่เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์วิตามินเอของร่างกาย พบมากในพืชผักและผลไม้สีส้ม เหลือง และแดง

  • 1 IU ของอนุพันธ์วิตามินเอจาก เรตินอล มีปริมาณเท่ากับ 0.3 ไมโครกรัม
  • 1 IU อนุพันธ์วิตามินเอจาก เบต้าแคโรทีน มีปริมาณเท่ากับ 0.6 ไมโครกรัม

 Vitamin D  เป็นวิตามินที่มีคุณสมบัติช่วยดูดซึมแคลเซียมภายในร่างกาย ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง รวมทั้งยังช่วยบรรเทาการอักเสบ ลดระคายเคืองของผิว และปกป้องผิวจากมลภาวะภายนอก โดยมีสารสำคัญ 2 ประเภท ได้แก่ โคเลแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol) และ เออร์โกแคลซิเฟอรอล (ergocalciferol) ซึ่งจากการวิจัยใน Bangkok Medical Journal ระบุว่า 1 ใน 3 ของพนักงานออฟฟิศ กำลังขาดวิตามินดีโดยไม่รู้ตัว

  • 1 IU อนุพันธ์วิตามินดี โคเลแคลซิเฟอรอล หรือ เออร์โกแคลซิเฟอรอล มีปริมาณเท่ากับ 0.025 ไมโครกรัม

 Vitamin E  ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเลิศ ที่ช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของอนุมูลอิสระ และฟื้นฟูผิวให้กลับมาเนียนนุ่มชุ่มชื้น ลดความหยาบกร้านของผิว โดยวิตามินอีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีทั้งมาจากธรรมชาติ เรียกว่า อัลฟ่า-โทโคฟีรอล (alpha-tocopherol) และวิตามินอีที่ได้จากการสังเคราะห์ หรือ ดีแอล-อัลฟ่า โทโคฟีรอล (dl-alpha-tocopherol)

  • 1 IU อนุพันธ์วิตามินอีของ อัลฟ่า-โทโคฟีรอล มีปริมาณเท่ากับ 0.67 มิลลิกรัม
  • 1 IU อนุพันธ์วิตามินอีของ ดีแอล-อัลฟ่า โทโคฟีรอล มีปริมาณเท่ากับ 0.9 มิลลิกรัม

     เป็นอย่างไรบ้างครับ กับความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัด IU (International Unit) และวิตามินที่เราได้รวบรวมมาในบทความนี้ คงทำให้หลายๆคนได้หายสงสัย รวมทั้งมีความเข้าใจในฉลากของผลิตภัณฑ์สุขภาพความงามกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้อย่าดูแต่เลข IU จนลืมบำรุงผิวให้ถูกจุดด้วยวิตามินที่ตอบโจทย์ปัญหาผิวของเรา


สร้างแบรนด์สกินแคร์ Multi-Vitamin กับ  TNP Cosmeceutical  โรงงานรับผลิตครีมชั้นนำที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตสากล ISO 22716 และ GMP TUV Nord จากประเทศเยอรมัน

บทความที่เกี่ยวข้อง
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.28 ข้อควรรู้! สารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอาง
สารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอางมีอะไรบ้าง? ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อหรือเริ่มต้นสร้างแบรนด์ ใน EP.28 นี้ TNP ได้สรุปสารที่ควรหลีกเลี่ยงในเครื่องสำอางประเภทต่างๆ มาให้แบบเข้าใจง่าย
9 ต.ค. 2024
ศูนย์ทดสอบเครื่องสำอางที่น่าไว้วางใจ
สร้างแบรนด์แตกต่างด้วยคำว่า พิสูจน์ได้ บริการส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์มีเอกสารรับรอง ศูนย์ทดสอบเครื่องสำอางที่น่าเชื่อถือ
8 ต.ค. 2024
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.24 การทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตอน การทดสอบทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation)
การที่จะออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสูตรใหม่นั้นไม่ง่ายเลย ต้องมีการทดสอบมากมาย และหนึ่งในการทดสอบที่สำคัญคือ การทดสอบทางประสาทสัมผัส เป็นเสมือนการทดลองใช้ก่อนวางขายจริง
6 ส.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ