share

รู้ทันคำโฆษณา แม่ค้ามือใหม่ต้องรู้ เคลมโฆษณาอย่างไรให้น่าดึงดูดใจและถูกต้อง

Last updated: 21 Jun 2024
150 Views
รู้ทันคำโฆษณา แม่ค้ามือใหม่ต้องรู้ เคลมโฆษณาอย่างไรให้น่าดึงดูดใจและถูกต้อง

     ในปัจจุบันได้มีแบรนด์เครื่องสำอางใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย และเข้าถึงได้ง่ายตามสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์นั้นอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหรือไม่ สร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภคหรือเปล่า

     วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจแนวทางการโฆษณาที่ถูกต้องรวมไปถึงข้อห้ามของเครื่องสำอางแต่ละประเภทกันค่ะ

 

1. กลุ่มเครื่องสำอางบำรุงผิวที่มีสารไวท์เทนนิ่ง (Whitening Products)

ห้ามใช้ข้อความหรือภาพโฆษณาที่สื่อ ความหมายว่า สามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ผิวขาวขึ้นมากกว่าหรือแตกต่างจากสีผิวเดิมจากธรรมชาติ หรือที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน

ข้อความหรือภาพโฆษณาต้องสื่อ ที่มีความหมายทำให้เข้าใจว่า เครื่องสำอางไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสีผิวตามธรรมชาติของแต่ละบุคคลได้

*การโฆษณาที่มี การอ้างอิงผลการทดสอบต้องแสดงข้อความอย่างชัดเจนว่า ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล ด้วย

 

2. กลุ่มเครื่องสำอางลดริ้วรอย (Anti-Aging, Anti-Wrinkle)

ห้ามใช้ข้อความหรือภาพโฆษณาที่สื่อ ใน การป้องกัน ชะลอ หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการเสื่อมสภาพ อันเนื่องมาจากอายุมากขึ้น

ข้อความหรือภาพโฆษณาต้องสื่อ ที่ทำให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณ ช่วยลด ชะลอหรือปกป้องผิวจากริ้วรอย ต้องแสดงข้อความที่ทำให้ผู้ใช้เข้าใจว่าจะได้รับผลในการใช้ในช่วงเวลาเมื่อใช้เครื่องสำอางเท่านั้น และผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคลด้วย

*สำหรับสรรพคุณปกปิดริ้วรอยในกลุ่ม Foundation หรือ Concealer ต้องแสดงข้อความที่ทำให้เข้าใจว่าสามารถปกปิดริ้วรอยได้ในขณะใช้เท่านั้น

*ตัวอย่างภาพโฆษณาเกินจริง

 

3. กลุ่มเครื่องสำอางสำหรับสิว (Anti-Acne, Anti-Comedone)

ห้ามใช้ข้อความหรือภาพโฆษณา ที่สื่อถึงประสิทธิภาพในการรักษาสิว หรือลดการอักเสบของสิว

 

 4. กลุ่มเครื่องสำอางกระชับผิว (Contour Cream, Anti-Cellulite, Firming Products)

ห้ามใช้ข้อความหรือภาพโฆษณา ที่สื่อในการ เปลี่ยนแปลงระบบทำงานหรือโครงสร้างของร่างกาย เช่น เพิ่มการเผาผลาญ ลดการสะสมของไขมัน ลดขนาดของเอว เพิ่ม/ลดขนาดทรวงอก เป็นต้น

ข้อความหรือภาพโฆษณาต้อง สื่อถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ ที่มีจุดมุ่งหมายสำหรับ ช่วยปรับสภาพผิวให้ดูดี เช่น ช่วยให้ผิวหน้าหรือผิวกายกระชับอย่างเป็นธรรมชาติ ตามโครงร่างธรรมชาติของแต่ละบุคคล

 

5. กลุ่มเครื่องสำอางขัดผิว (Skin Exfoliation)

ห้ามใช้ข้อความหรือภาพโฆษณา ที่สื่อความหมายถึงประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผิว

ข้อความหรือภาพโฆษณาต้อง สื่อความหมายทำให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณเกี่ยวกับการ ปรับสภาพผิวให้ดูดีขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารที่เสริมการผลัดเซลล์ผิว เช่น AHA หรือ Scrub Beads เป็นต้น

*ในกรณีที่มี ส่วนผสม AHA ในปริมาณตั้งแต่ 2.5% ขึ้นไป ต้องแสดงคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงแสงแดดในบริเวรณที่ทาหรือใช้สารป้องกันแสงแดดควบคู่ไปด้วย

 

6. กลุ่มเครื่องสำอางป้องกันแสงแดด/ผสมสารป้องกันแสงแดด (Sunscreen/Sunscreen Containing Products)

ห้ามใช้ข้อความหรือภาพโฆษณา ที่สื่อถึงประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด

     6.1.1 ป้องกันรังสีอื่นได้ นอกจากรังสี UV
     6.1.2 ป้องกันแสงแดดได้ยาวนานโดยไม่ต้องทาซ้ำ
     6.1.3 ป้องกันอันตรายจากรังสี UV ได้ 100%
     6.1.4 ป้องกันการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อของผิวหนัง 
     6.1.5 ทาแล้วทนต่อการเช็ดถูหรือไม่ละลายออกมากับเหงื่อ

ข้อความหรือภาพโฆษณาต้อง ให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงข้อควรปฏิบัติในการใช้เครื่องสำอางกลุ่มกันแดดอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้รับผลในการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วยข้อความที่ทำให้เข้าใจว่า ใช้ทาในปริมาณ 2 มิลกรัมต่อตารางเซนติเมตร หรือ ใช้2ข้อนิ้วมือ สำหรับผิวหน้าและลำคอ หรืออาจแบ่งทาสองรอบ รอบละ 1 ข้อนิ้วมือ ทาให้ทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอก่อนออกแดดอย่างน้อย 15-30 นาที และทาซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง

*การแสดงค่าประสิทธิภาพในการ ป้องกันรังสียูวี เช่น SPF และ/หรือ PA ต้องระบุเฉพาะค่าประสิทธิภาพการป้องกัน ที่ได้จากการทดสอบเครื่องสำอางสำเร็จรูป

 

7. กลุ่มเครื่องสำอางทำความสะอาดผสมสารแอนตี้แบคทีเรีย (Antibacterial Cleansing Products)

ห้ามใช้ข้อความหรือภาพโฆษณา ที่สื่อถึงประสิทธิภาพในการกำจัด/ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสรรพคุณทางยา

ข้อความโฆษณาต้องสื่อความหมาย ทำให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณ หลักในการทำความสะอาดเพื่อสุขอนามัยที่ดี และมีจุดประสงค์รองในการชำระล้าง/ลดการสะสมของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุหนึ่งของกลิ่นกาย เช่น ใช้ทำความสะอาดและช่วยลดการสะสมของแบคทีเรีย

 

8. กลุ่มเครื่องสำอางขจัดรังแค (Anti-Dandruff)

ห้ามใช้ข้อความหรือภาพโฆษณา ที่สื่อถึงการกำจัด/ยับยั้งอาการคันศีรษะ อันเนื่องมาจากเชื้อราหรือการรักษาโรคหนังศีรษะอักเสบ หรือขจัดรังแคแบบถาวร

ข้อความโฆษณาต้องสื่อควาามหมายในลักษณะการทำความสะอาดเส้นผม หนังศีรษะ สะเก็ดรังแค รวมทั้งลดอาการคันศีรษะที่เกิดจากรังแคในช่วงระยะเวลาที่ใช้ผลิตภัณฑ์

 


9. กลุ่มเครื่องสำอางบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ (Anti-Hair Fall Due to Breakage Hair)

ห้ามใช้ข้อความหรือภาพโฆษณา ที่สื่อความหมายว่าช่วยลดปัญหาผมขาดหลุดร่วง หรือมีผลกระทบต่อการปรับวงจรการเติบโตของเส้นผมและหนังศีรษะหรือลักษณะทางพันธุกรรม

ข้อความหรือภาพโฆษณาต้องสื่อ ความหมายว่าเคลือบเส้นผมให้ลื่นหวีง่าย

 

10. กลุ่มเครื่องสำอางสำหรับช่องปาก (Oral Care Products)

ห้ามใช้ข้อความหรือภาพโฆษณา ที่สื่อว่ามีผลในการรักษา/ป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ เช่น แผลในช่องปาก เชื้อราในปาก เหงือกอักเสบ เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น

ข้อความหรือภาพโฆษณาต้อง สื่อถึงการทำความสะอาดและส่งเสริมสุขอนามัยในช่องปากและฟัน เช่น ป้องกันฟันผุ (กรณีมีส่วนผสมของฟลูออไรด์) ลดการสะสมของคราบแบคทีเรียหรือคราบพลัค (กรณีมีส่วนผสมของสารแอนตี้แบคทีเรียที่ไม่เข้าข่ายเป็นยา) ลดกลิ่นปากและช่วยให้ลมหายใจหอมสดชื่น

*กรณีที่มี Hydrogen peroxide เป็นส่วนผสม หรือถูกปล่อยจากผลิตภัณฑ์ไม่เกิน 0.1% ห้ามแสดงประสิทธิภาพในการฟอกสีฟัน

     นี่คือบางส่วนของ ข้อห้ามและแนวทางการโฆษณาตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ว่าด้วยการโฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นจากการโฆษณาเครื่องสำอาง พ.ศ. 2561

     ในส่วนของบทลงโทษนั้น หากผู้ใดโฆษณาโดยไม่เป็นไปตามมาตรา 41 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทความที่เกี่ยวข้อง
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.24 การทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตอน การทดสอบทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation)
การที่จะออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสูตรใหม่นั้นไม่ง่ายเลย ต้องมีการทดสอบมากมาย และหนึ่งในการทดสอบที่สำคัญคือ การทดสอบทางประสาทสัมผัส เป็นเสมือนการทดลองใช้ก่อนวางขายจริง
6 Aug 2024
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.27 การจดแจ้งชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง (FDA Registration)
ชื่อเครื่องสำอางที่แปลกใหม่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ตัวผลิตภัณฑ์ แต่การจะตั้งชื่อได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายให้ถูกต้อง
25 Jun 2024
11 Ingredients ที่เป็นประเด็นกับความยั่งยืน
ด้วยสภาวะโลกที่ร้อนมากขึ้นและทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกอย่างจำกัด ทำให้เครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะยืนหยัดเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีหลายแบรนด์ที่เปลี่ยนส่วนผสมเครื่องสำอางที่ไม่ยั่งยืนให้ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้ใช้
25 Jun 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ