มีหลายคนที่สนใจอยากมีแบรนด์เครื่องสำอางเป็นของตัวเองแต่ยังไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี TNP ขอแนะนำ 5 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนสร้างแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นคอนเซ็ปต์ การสร้างแบรนด์ โรงงานผลิตเครื่องสำอาง บรรจุภัณฑ์ที่ต้องการ และการกระจายสินค้า เพื่อจุดประกายให้คุณมีความคิดในการอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองค่ะ
สิ่งแรกในการสร้างแบรนด์ที่ต้องรู้จักเลยคือ แนวคิด หรือที่เราได้ยินบ่อยๆ ว่า คอนเซ็ปต์นั่นเอง จะทำให้มองเห็นภาพรวมและแนวทางของแบรนด์ ยิ่งแนวคิดมีความชัดเจนมากก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมาก โดยแนวคิดในการทำแบรนด์เครื่องสำอางจะต้องมีทั้งความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ความคิดสร้างสรรค์ Creativity คือ ความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม และนำไปสู่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ อาจมีที่มาจากความฝัน แนวคิดใหม่ ความท้าทาย
นวัตกรรม Innovation คือ การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ หรือกระบวนการที่มีความแปลกใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ บริการ เทคโนโลยี หรือโมเดลธุรกิจ
นอกจากนี้การคิดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางขึ้นมา 1 อย่างนั้นจะต้องตอบโจทย์ปัญหาของผู้บริโภคได้จริง ให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้จากผลิตภัณฑ์นี้ สามารถสร้างค่านิยมและการรับรู้ (Values & Perceptions) ของแบรนด์ได้ และผลิตภัณฑ์จะต้องมีราคาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยแนวคิดที่รวบรวมมามีดังนี้
แนวคิดการตลาด Marketing Concept
แนวคิดการตลาดจะสนับสนุนให้เกิดแนวคิดผลิตภัณฑ์ ทั้ง 2 แนวคิดจะมีความสอดคล้องกันและเป็นไปในทางเดียวกัน โดยปัจจุบันความรู้สามารถหาได้ง่ายจากโลกออนไลน์ จึงทำให้ผู้บริโภคมีความรู้ในเครื่องสำอางมากยิ่งขึ้น หากเราจะลงมือสร้างแบรนด์ก็จะต้องมีการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมและการวิจัยการตลาดในปัจจุบันก่อน เพื่อดูสภาพเศรษฐกิจ แนวโน้มตลาดเครื่องสำอาง และคู่แข่ง
Tip: แนวโน้มตลาดเครื่องสำอาง (Market Trend) จะมีการอัพเดตทุกปี และมีการคาดการณ์ล่วงหน้า 1-5 ปี สามารถใช้ประกอบแนวคิดได้ เพื่อให้ในอนาคตแบรนด์ยังคงอยู่ในตลาด
เมื่อกำหนดเป้าหมายลูกค้า แนวโน้ม และคู่แข่งได้แล้ว สิ่งสำคัญต่อมาคือการรู้ต้นทุนและการพยากรณ์ยอดขาย ซึ่งหากไม่มีโรงงานเครื่องสำอางเป็นของตนเอง ก็สามารถมองหาโรงงานที่รับผลิตเครื่องสำอางแบบครบวงจรได้ ทางโรงงานจะเสนอราคาต้นทุนเครื่องสำอางต่อชิ้นเพื่อให้เราตัดสินใจ ซึ่งในต้นทุนนั้นจะรวมมาแล้วจากหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ค่าแรง ค่าวัตถุดิบ ค่าทรัพยากร ค่าเสียเวลา ค่าความเสี่ยง และค่าเสียโอกาส และในเครื่องสำอางจะมีต้นทุนสูตรตำรับที่มีความสำคัญมาก มีการคิดต้นทุนเนื้อผลิตภัณฑ์ต่อ 1 กิโลกรัม และต่อ 1 ชิ้น จากนั้นนำไปคิดรวมกับต้นทุนอื่นๆ เช่น ต้นทุนวัสดุบรรจุ ต้นทุนการบรรจุ เป็นต้น แล้วออกมาเป็นต้นทุนผลิตภัณฑ์ต่อ 1 ชิ้น จะทำให้เราได้รู้ว่าต้นทุนเครื่องสำอาง 1 ชิ้นนั้นอยู่ที่ราคาเท่าไร เพื่อที่จะได้กำหนดราคาขายที่ถูกต้อง
การพยากรณ์ยอดขายเป็นการคาดการณ์ว่าเครื่องสำอางจะขายได้ทั้งหมดเท่าไร ซึ่งก็คือการลงทุนนั่นเอง ทั้งนี้การลงทุนขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มี ยิ่งกำหนดยอดขายไว้มากงบประมาณที่ต้องใช้ก็มากตาม
การโฆษณาเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการทำการตลาด มีรูปแบบการสื่อสารทางการตลาดที่ดึงดูดผู้บริโภค ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และการโฆษณาส่วนมากจะมีค่าใช้จ่ายแต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้การโฆษณาที่ผสานเข้ากับกลยุทธ์ในการขายสินค้าจะช่วยดึงดูดผู้บริโภคได้มากขึ้น
แนวคิดผลิตภัณฑ์ Product Concept
เป็นแนวคิดที่โฟกัสตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงที่สุด ผสานเข้ากับนวัตกรรมใหม่ๆ และต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา โดยมีข้อกำหนดดังนี้
แนวคิดบรรจุภัณฑ์ Packaging Concept
เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพมีความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ โดยจะกำหนดลักษณะบรรจุภัณฑ์จากแนวคิดต่างๆ ก่อนหน้า ได้แก่
การสร้างแบรนด์ คือ กิจกรรมทางการตลาดที่ทำให้ธุรกิจตัวเองเป็นที่รู้จักต่อผู้คนและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง มีโลโก้ สโลแกน หรือแนวคิด ที่ทำให้ผู้คนจำได้ง่าย ยิ่งการสร้างแบรนด์มีความชัดเจนมากผู้คนก็จะมีความเข้าใจ เชื่อถือ และภักดีต่อแบรนด์มากเท่านั้น โดยแบรนด์สามารถกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าของเราได้ ช่วยสนับสนุนการตลาดและการโฆษณา เมื่อลูกค้ามีความผูกพันกับแบรนด์แล้วจะมีการใช้จ่ายซื้อสินค้ามากกว่าลูกค้าทั่วไปถึง 2 เท่า ซึ่งการสร้างแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีแผนกลยุทธ์ รวมถึงแนวทางของแบรนด์ที่ชัดเจน ยิ่งแบรนด์มีตัวตนมากเท่าไรก็ยิ่งแข็งแกร่งมากเท่านั้น
องค์ประกอบแบรนด์ที่ควรมี
โลโก้ Logo: โลโก้เป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ สื่อถึงภาพของบริษัท โดยทั่วไปแล้วโลโก้จะมีโทนสี รูปร่าง รูปภาพเฉพาะ หรือจะใช้ชื่อบริษัทเป็นโลโก้ก็ได้
สโลแกน Slogan: สโลแกนคือข้อความสั้นๆ ที่ชัดเจน ซึ่งแสดงถึงค่านิยมหรือแนวคิดของบริษัท
พันธกิจ Mission Statement: คำแถลงความมุ่งประสงค์ของบริษัทหรือองค์การ วิธีที่จะทำให้สิ่งที่แบรนด์ตั้งจุดมุ่งหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนให้เป็นจริงขึ้นมา
น้ำเสียงของแบรนด์ Brand Voice: น้ำเสียงและลักษณะการพูดที่ใช้สื่อสารกับลูกค้าในช่องทางต่างๆ และต้องมีความเข้ากันกับแบรนด์
นอกจากนี้การสร้างแบรนด์ต้องมาก่อนและการตลาดต้องมาทีหลัง โดยกลยุทธ์แบรนด์ที่ดีเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค ความแตกต่างระหว่างการตลาดและการสร้างแบรนด์คือ การคิดการสร้างมูลค่าและการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาด การตลาดคือการคิดราคาจากมุมมองของบริษัท มูลค่าของผลิตภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆ เช่น ต้นทุนผลิตภัณฑ์ และการกำหนดราคาสมเหตุสมผล ดังนั้นการสร้างมูลค่าสินค้าต้องปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยการเพิ่มคุณสมบัติต่างๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย ส่วนการสร้างแบรนด์เป็นการคิดราคาจากมุมมองของผู้บริโภค โดยคำนึงถึงความต้องการ อารมณ์ และแรงบันดาลใจของตัวเอง สร้างมูลค่าโดยการกระตุ้นการจดจำและความภักดีต่อแบรนด์
วิธีสร้างแบรนด์
เมื่อวางแนวคิดและการตลาดเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อมาก็คือการเฟ้นหาห้องทดลองและโรงงานผลิตเครื่องสำอางที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน สิ่งสำคัญก่อนวางขายสินค้าจริงคือการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จริงก่อนวางขาย ในบางครั้งเนื้อครีมที่คิดไว้ตามคอนเซ็ปต์อาจจะไม่ตรงตามความต้องการ 100% เนื่องจากการทดลองขึ้นสูตรจะมีข้อจำกัดของคุณสมบัติวัตถุดิบ จนอาจต้องมีการวิจัยและพัฒนาที่ใช้เวลานาน
ดังนั้นการเลือกโรงงานผลิตจึงต้องหาที่ที่มีนักวิจัยและพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการคิดค้นสูตรเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคุณ และทุกสูตรมีการทดสอบ In house และ Ex house เห็นผลและปลอดภัย ซึ่งหนึ่งในหัวใจหลักของการทำแบรนด์เครื่องสำอางให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว คือ "คุณภาพของสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ใช้แล้วเห็นผลจริง"
มาตรฐานการผลิตที่โรงงานควรมี
1. CERTIFICATE OF MANUFACTURER
2. ASEAN GMP
3. ISO 22716
คุณภาพ 3 มาตรฐานสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับ มีความโปร่งใสในการตรวจสอบ เสริมสร้างความเชื่อมั่นของแบรนด์และความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์มีบทบาทอย่างมากในการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง นอกจากคุณภาพสินค้าที่ดีแล้ว บรรจุภัณฑ์ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการดึงดูดตลาด บรรจุภัณฑ์ที่มีความสวยงามและแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในตลาด จะดึงดูดสายตาลูกค้าได้เป็นอย่างดี การลงทุนในบรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์นี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นสิ่งที่ลูกค้ามองเห็นได้ในทันทีจึงยิ่งต้องใส่ใจในการเลือกวัสดุในการผลิตและการออกแบบที่ดึงดูดใจและเงินในกระเป๋าลูกค้า
ชนิดของวัสดุบรรจุภัณฑ์
การกระจายสินค้าคือการเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังสถานที่จำหน่ายสินค้าตามที่กำหนดไว้และส่งต่อให้ถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้านั่นเอง จะต้องให้ความสำคัญกับสถานที่จัดเก็บสินค้าและการขนส่งเป็นอย่างมาก เพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดก่อนถึงมือลูกค้า และยิ่งสินค้ามีความต้องการมาก การขนส่งจะต้องมีความรวดเร็ว เพื่อให้สินค้าไปถึงมือลูกค้าเร็วที่สุด เป็นอีกหนึ่งจุดที่สามารถสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์ที่มีความรวดเร็วอย่างมาก แต่การขายสินค้าหน้าร้านหรือขายออนไลน์อาจทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักไม่เพียงพอ คุณจะต้องทำการโปรโมทสินค้าด้วย และเมื่อถึงเวลาประกาศให้โลกรู้! เผยแพร่สินค้าของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเพจ Facebook, Twitter, Instagram, Line Official, หรือ TikTok จากนั้นติดต่อกับ Influencer (ผู้มีชื่อเสียงหรือผู้มีอิทธิพลในโลกออนไลน์)
เพื่อทำการรีวิวสินค้าของคุณ รวมไปถึงบล็อกเกอร์ด้านความงาม แบรนด์ของคุณจะได้เป็นที่รู้จักในตลาดได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
TNP หวังว่าคอนเทนต์ เริ่มสร้างแบรนด์เครื่องสำอางต้องรู้จัก 5 สิ่งนี้ จะช่วยให้ผู้ที่มีความคิดริเริ่มในการเข้าสู่วงการธุรกิจเครื่องสำอางได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อย และช่วยผลักดันให้แบรนด์ของคุณก้าวเดินไปในทางที่ถูกต้องนะคะ
อยากสร้างแบรนด์ไม่ยากอย่างที่คิด ปรึกษา TNP ได้เลยค่ะ!