Last updated: 28 เม.ย 2566 | 2579 จำนวนผู้เข้าชม |
"ยุง" แมลงที่เป็นตัวพาโรคและเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคสู่คน เมื่อยุงดูดเลือดเหยื่อจะก่อให้เกิดอาการคัน บวม แดงบริเวณที่โดนกัด และสามารถก่อโรคได้หลายโรค ได้แก่ ไข้เลือดออก มาลาเรีย เท้าช้าง ชิคุนกุนย่า ไข้สมองอักเสบ เป็นต้น โดยโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ มีรายงานข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า วันที่ 1 ตุลาคม 2565 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวมทั้งประเทศ 27,912 ราย และมีแนวโน้มการระบาดตลอดทั้งปี ประมาณ 95,000 ราย ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าว การป้องกันยุงกัดจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
สารกันยุงที่เป็นที่นิยมและใช้มายาวนานคือ "ดีท (DEET) หรือ ดีอีอีที" เป็นสารเคมีออกฤทธิ์ มีชื่อเต็มว่า N, N-diethyl-meta-toluamide
จัดอยู่ในหมวดวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ออกฤทธิ์โดยไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง ซึ่งดีทเป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่มีราคาถูก แม้จะเป็นที่นิยมแต่ก่อพิษได้ มีโอกาสก่อให้เกิดการแพ้และระคายเคืองได้ง่าย มีผลต่อผิวหนัง ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน จึงทำให้ต้องระมัดระวังในการใช้งานเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้และเด็ก ยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นพิษกับปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ อย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบความเป็นพิษกับน้ำเสีย ดีทเป็นพิษมากกว่าถึง 75,000 เท่า
DEET FREE
ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันยุงกัดโดยไม่มีสารดีท ส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติ เช่นกลุ่มน้ำมันหอมระเหยที่ยุงไม่ชอบ ได้แก่ เจอราเนี่ยม ตะไคร้หอม ยูคาลิปตัส เป็นต้น เป็นทางเลือกจากธรรมชาติที่ปลอดภัยสำหรับผิวผู้ใช้และเด็ก พร้อมให้กลิ่นหอมผ่อนคลาย และยังมีสารสกัดจากธรรมชาติที่ปลอดภัยกับผิวบอบบางของลูกน้อย เช่น แบลคเคอแรนท์ บอลลูนไวน์ โอ๊ก และคาโมมายล์
ข้อควรระวัง
ดีทไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี และห้ามใช้ผลิตภัณฑ์กันยุงในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือน ควรใช้วิธีป้องกันโดยวิธีอื่น เช่น สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่ถุงเท้า กางมุ้ง
คำเตือนสำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์ทากันยุง
1. ห้ามรับประทานผลิตภัณฑ์ทากันยุง
2. ส่วนใหญ่ห้ามใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี ทั้งนี้ ควรดูข้อจำกัดของอายุเด็กในการใช้ผลิตภัณฑ์บนฉลาก
3. ควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และห้ามนำไปใช้ทาแทนแป้ง/โลชั่น
4. ก่อนใช้ควรทดสอบการแพ้ โดยการทาหรือพ่นที่บริเวณข้อพับ/ท้องแขน ถ้าไม่เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง จึงใช้บริเวณอื่น
5. อย่าทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือทาบริเวณแผล
6. ล้างมือทุกครั้งหลังใช้ผลิตภัณฑ์
แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันมิให้ยุงกัดได้ แต่ผู้ใช้ต้องให้ความระมัดระวังในการใช้ด้วย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีส่วนผสมของสารเคมี ดังนั้นก่อนใช้ควรอ่านฉลากและปฏิบัติตามวิธีใช้และคำแนะนำรวมทั้งคำเตือนบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด
รวบรวมข้อมูลจาก
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข
http://npic.orst.edu/factsheets/DEETgen.html
ที่ TNP COSMECEUTICAL มีผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กให้เลือกพัฒนาสูตรได้อย่างหลากหลาย มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย
https://www.tnpoem.com/kid-products
พร้อมสร้างแบรนด์สำหรับตลาดเด็กด้วยนักวิจัยและพัฒนาที่เปี่ยมด้วยความรู้และประสบการณ์ สินค้ามีคุณภาพและปลอดภัย กรรมวิธีการผลิตที่ถูกต้องตามหลักสากล เราพร้อมที่จะช่วยผลักดันธุรกิจของคุณให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
22 ก.ย. 2566