การพัฒนาสูตรเครื่องสำอาง 1 ในสิ่งสำคัญก็คือ 'ต้นทุน' ซึ่งนักวิจัยที่มีประสบการณ์จะต้องคำนวณต้นทุนที่ใช้ในสูตรตำรับได้ TNP จะมาเจาะลึกต้นทุนของ R&D ว่ามีความสำคัญอย่างไร
ต้นทุน (Cost) หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการ โดยมูลค่านั้นจะต้องสามารถวัดได้เป็นหน่วยเงินตรา โดยต้นทุนที่สำคัญของ R&D คือ วัตถุดิบ
วัตถุดิบ (Raw Materials) นับว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปโดยทั่วไป ซึ่งวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตจะถูกระบุอย่างชัดเจนว่าใช้กับการผลิตสินค้าตัวไหน ใช้ในปริมาณเท่าไหร่และราคาต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนรวมเท่าไหร่
ราคาวัตถุดิบจะแตกต่างกันไป และราคามีความไม่แน่นอน ราคาจะคงที่ได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หากราคามีการปรับเปลี่ยนขึ้นไปมากก็จะทำให้ต้นทุนในการผลิตเครื่องสำอางเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่มีผลต่อราคาวัตถุดิบ เช่น ฤดูกาล ราคาน้ำมันโลก ราคาปาล์ม เป็นต้น
Note: อ่านเพิ่มเติมได้ที่ R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.01 กว่าจะมาเป็นสารสกัดในเครื่องสำอาง
ราคาวัตถุดิบจะถูกนำมาคำนวณต้นทุนสูตรตำรับ ซึ่งจะได้ต้นทุนที่ยังไม่รวมค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายการผลิต ภาษี และค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ เมื่อ R&D คำนวณต้นทุนเสร็จเรียบร้อยก็จะส่งต่อต้นทุนให้ฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายบัญชี และฝ่ายการตลาด จะเห็นได้ว่าต้นทุนที่ออกจาก R&D นั้นมีความสำคัญกับอีกหลายฝ่าย จึงต้องมีการคำนวณต้นทุนสูตรให้ถูกต้องและแม่นยำที่สุด
ตัวอย่างการคำนวณ
ยกตัวอย่างต้นทุนสูตรตำรับ A อยู่ที่ราคา 943.75 บาท
สารสกัดใบบัวบกราคา 5,000 บาทต่อกิโลกรัม ในสูตรใช้ไป 10%
วิธิคิด: ราคา X %ที่ใช้ เท่ากับ 5,000 X 10% หรือ (5,000 X 10)/100 = 500 บาท
ต้นทุนสารสกัดใบบัวบก ในสูตรนี้จะเท่ากับ 500 บาท
ทั้งนี้ในสูตรจะต้องคำนวณราคาต้นทุนสารที่ใช้ทุกตัว
ตัวอย่าง
เนื้อเบส: (เนื้อครีม, เนื้อโลชั่น, เนื้อน้ำ, เนื้อเพสท์ เป็นต้น)
สารกันเสีย: (Chlorphenesin, Phenoxyethanol, Sodium Benzoate เป็นต้น)
สารสกัดตัวอื่นๆ: โดยปกติแล้วในสูตรตำรับจะใส่สารสกัดมากกว่า 1 ตัว เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เช่น วิตามินซีช่วยให้ผิวกระจ่างใสแต่เสื่อมประสิทธิภาพได้ง่าย จึงต้องใช้วิตามินอีเพื่อช่วยแอนตี้ออกซิแดนท์และเสริมประสิทธิภาพของวิตามินซี
รวมเป็นราคาต้นทุนสูตรตำรับ อีกสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนวณด้วยคือเปอร์เซ็นต์มูลค่าของสาร เพื่อทราบว่าสารตัวไหนที่มีมูลค่าต่อสูตรตำรับมากที่สุด เนื่องจากเราใส่สารสกัดมากกว่า 1 ตัว
วิธิคิด: (ราคาต้นทุนวัตถุดิบ X 100)/ราคาต้นทุนสูตรตำรับ = (500 X 100)/943.75 = 52.98%
สารสกัดใบบัวบกในสูตรมีมูลค่าเท่ากับ 52.98% ถือว่ามีมูลค่ามาก มีผลกระทบต่อสูตรตำรับมากหากมีการเปลี่ยนแปลงเปอร์เซ็นต์สาร
กว่าจะขายเครื่องสำอางได้ 1 สูตร นอกจากต้นทุนสูตรตำรับแล้วยังมีส่วนต้นทุนอื่นๆ เช่น
ค่าแรงงาน (Labor) คือ ค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งทุกฝ่ายในบริษัทต่างก็มีหน้าที่สำคัญที่ช่วยในการผลิตเครื่องสำอางออกสู่ตลาด ไม่วาจะเป็นทีมนักวิจัยที่คิดค้นสูตร ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead) คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่นอกเหนือค่าแรงและค่าวัตถุดิบ เช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น
ค่าการตลาด (Marketing costs) คือ ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาด เช่น ค่าโฆษณา ค่ารีวิว ค่าสินค้าทดลองผลิตภัณฑ์
ภาษี (Vat) คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มเก็บจากการขายสินค้าหรือให้บริการ
ในปัจจุบันเพื่อป้องกันความผิดพลาดได้มีการพัฒนาระบบการคำนวณต้นทุนขึ้นมาซึ่งสะดวกต่อนักวิจัยทำให้การทำงานมีความรวดเร็วขึ้นและไม่มีความผิดพลาด สำหรับลูกค้าที่สนใจสร้างแบรนด์ในงบที่จำกัด TNP มีผู้ให้คำปรึกษาในการเริ่มต้นสร้างแบรนด์ ปรึกษาฟรี! มีทุนหลักหมื่นก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ได้