share

R&D Talk EP.13 เครื่องสำอางตกแต่งสี (Color Cosmetic Products)

Last updated: 25 Jun 2024
721 Views
R&D Talk EP.13 เครื่องสำอางตกแต่งสี (Color Cosmetic Products)

           เครื่องสำอางตกแต่งสี (Color Cosmetic Products) คือกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อแต่งเติมสีสันและเพิ่มความสดใสให้กับผิว มีการใช้ตกแต่งผิวมานานตั้งแต่สมัยโบราณ ใช้เพื่อการเสริมความงาม คงรูปลักษณ์ที่ดูอ่อนเยาว์ รวมไปถึงพิธีกรรมทางศาสนาก็มีเครื่องสำอางตกแต่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ตลอดจนอุตสาหกรรมบันเทิงต่างๆ

ใน EP. นี้ TNP จะพาคุณไปรู้จักกับเครื่องสำอางตกแต่งประเภทต่างๆ กันค่ะ


     ราว 5,000 ปีที่แล้ว สีที่ใช้ตกแต่งริมฝีปากมาจากการนำอัญมณีมาบดละเอียดแล้วแต้มที่ริมฝีปาก หลังจากนั้นมีการใช้สีจากแหล่งอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามาไม่ว่าจะเป็น โคลนแดง สนิมเหล็ก เฮนน่า สาหร่ายทะเล ไอโอดีน ปีกแมลง รวมไปถึงสารที่มีพิษร้ายแรงอย่าง Bromine mannite หรือจะเป็นสีที่สกัดจากพืชที่นำไปสู่โรคร้ายแรง

     ลิปสติกและความเชื่อ สมัยก่อนมีความเชื่อโบราณที่ว่าหญิงที่ทาปากคือแม่มดเพราะลิปสติกคือเครื่องมือที่แม่มดใช้ทาเพื่อยั่วยวนผู้ชาย ในบางศาสนาหรือบางลัทธิจึงมีการห้ามทาลิปสติก ถึงอย่างนั้นไม่ว่าใครๆ ล้วนชอบในความสวยงาม ยังมีหญิงสาวที่หันมาสนใจแต่งหน้าทาปากมากขึ้นแต่ก็ไม่พ้นการถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้หญิงที่ไม่ดีและมีเพียงชนชั้นต่ำเท่านั้นที่ทาปาก จนในศตวรรษที่ 16 ควีนเอลิซาเบธที่ 1 ผู้นำเทรนท์ "ผิวขาวเหมือนตุ๊กตากระเบื้อง ปากแดงเหมือนเลือดนก" นิยามความงามของสตรีชั้นสูงและความเชื่อที่ว่าลิปสติกสามารถปัดเป่าความเจ็บป่วยและความตายได้ จึงทำให้ลิปสติกกลับมาเป็นที่นิยม ลิปสติกยังมีบทบาทสำคัญในช่วงประวิติศาสตร์อีกมากมาย เป็นเครื่องสำอางที่ได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบันนี้

     ปัจจุบัน ลิปสติกถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่นิยมใช้ในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ช่วยแต่งแต้มริมฝีปากให้มีสีสันเพื่อเสริมความมั่นใจแก่ผู้ใช้ เพิ่มความชุ่มชื้น และปกป้องริมฝีปากจากรังสียูวี ทุกวันนี้ลิปสติกไม่ได้เป็นเพียงลิปสติกที่ใช้ทาปากอีกต่อไป ในบางแบรนด์ลิปสติกสามารถใช้เป็นอายแชโดว์และบรัชออนได้ด้วย นอกจากนี้ลิปสติกเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีความเติบโตมากในประเทศไทยด้วย

 Did You Know รู้หรือไม่? 

     การให้ความชุ่มชื้นริมฝีปากที่แห้งโดยการใช้น้ำลายนั้นจะช่วยได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะน้ำในน้ำลายจะดึงความชุ่มชื้นในริมฝีปากออกมาด้วยทำให้ริมฝีปากกลับไปแห้งเหมือนเดิม สามารถปกป้องริมฝีปากจากความแห้งกร้านนี้ได้โดยใช้ลิปสติกที่ช่วยเติมความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปาก

 ประเภทลิปสติก (Types of lipstick) 

     ลิปสติกสามารถพบเห็นได้ทั่วไปมีหลากหลายเฉดสี ใช้เพื่อแต่งแต้มสีสันให้กับริมฝีปาก เพิ่มความสวยงามและน่าดึงดูดใจ โดยรูปแบบลิปสติกที่พบได้บ่อยจะเป็นแบบแท่งบรรจุอยู่ในกระบอก และแบบของเหลวหนืด เนื้อลิปสติกปัจจุบันมีหลากหลายมากให้เลือกใช้งาน ยกตัวอย่างแต่ละแบบมีดังนี้

   ลิปสติกเนื้อแมตต์ (Matte lipstick)

ให้สีที่ดูด้าน ไม่เงา สามารถใช้ได้ทุกวันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

   ลิปสติกเนื้อลิคลิด (Liquid lipstick)

หรือลิปจิ้มจุ่ม บรรจุในรูปแบบแท่งพร้อมหัวแอพพลิเคเตอร์ มีเนื้อมันวาว สามารถแต้มลงบนริมฝีปากเพื่อเพิ่มสีสันให้ชัดเจน แห้งเร็ว

   ลิปทิ้นท์ (Lip stain/ Lip tint)

มักอยู่ในรูปของเหลวหรือเจล เนื้อลิปบางเบา ติดทนนานกว่าลิปสติกโดยทิ้งคราบสีไว้บนริมฝีปาก มักทำให้ริมฝีปากแห้งได้ง่าย

   ลิปกลอส (Glossy lip)

เพิ่มความชุ่มชื้นและช่วยให้ริมฝีปากเงางาม เนื้อลิปมีความโปร่งใส มีสีสันที่อ่อนกว่าลิปแมตต์ 

   ลิปไลเนอร์ (Lip liner)

หรือดินสอเขียนขอบปาก ใช้เพื่อกำหนดเส้นขอบปากใหม่ให้ได้โครงริมฝีปากที่คมชัดและเป็นรูปทรงสวย
 

   ลิปบาล์ม (Balm lip)

ให้ความชุ่มชื้นแก่ริมฝีปากและป้องกันริมฝีปากแห้งลอก 

   ลิปสติกเนื้อซาติน (Satin lipstick)

เป็นลิปสติกที่มีเนื้อสัมผัสกึ่งกลางระหว่างเนื้อแมตต์และเนื้อครีม ให้สีริมฝีปากดูอ่อนนุ่มชุ่มชื้นเป็นธรรมชาติ ให้ความมันวาวและชุ่มชื้นสูงกว่าลิปแมตต์ ไม่ติดทนนาน 

   ลิปสติกเนื้อเชียร์ (Sheer lipstick)

ลิปสติกเนื้อบางที่ให้ความชุ่มชื้นเป็นพิเศษ มีความแวววาว สีสันอ่อน ใช้สีแดงเพื่อปกปิดสีธรรมชาติของริมฝีปาก เนื้อลิปบางเบาโปร่งแสง 

   ลิปสติกเนื้อครีม (Cream lipstick)

เนื้อครีมสัมผัสนุ่ม มีความมันวาวเล็กน้อย ให้ความชุ่มชื้นได้ดี ปกปิดริมฝีปากเดิมได้หมด สีไม่ติดทน 

   ลิปสติกเมทัลลิค (Metallic lipstick)

เป็นสีลิปที่สะท้อนแสงเหมือนโลหะ ริมฝีปากดูเปล่งประกายระยิบระยับ ให้ริมฝีปากดูอิ่มเอิบขึ้นด้วย มักทำให้ริมฝีปากแห้งได้ 

   ลิปพลัมเปอร์ (Lip plumper)

เป็นลิปที่มีส่วนประกอบของสารที่ช่วยให้ริมฝีปากหนาขึ้นชั่วคราว ให้ริมฝีปากดูอวบอิ่มสะท้อนแสง 

   ลิปไพรเมอร์ (Lip primer)

เป็นลิปเบสที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นกับริมฝีปาก ล็อกสีลิปสติกให้ติดทนนานไม่จำเป็นต้องทาลิปสติกซ้ำๆ ตลอดทั้งวัน

 ส่วนผสมที่ใช้ 

     ลิปสติกแต่ละประเภทมีเนื้อที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนผสมหลักๆ ยังมีความคล้ายคลึงกันอยู่ ต่างกันที่ปริมาณในสูตรและวิธีทำ ยกตัวอย่างส่วนผสมหลักๆ ที่ใช้มีดังนี้

 สี (Colorant)  สีที่ใช้ในลิปสติกส่วนใหญ่มักเป็นสารสังเคราะห์ซึ่งอาจเป็นสารอินทรีย์ (organic) หรือสารอนินทรีย์ (inorganic) ที่สำคัญสีต้องเป็นเกรดสำหรับทำลิปสติกที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้อนุญาตเท่านั้น

  • สูตรผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมักใช้สีอินทรีย์ที่ละลายในตัวทำละลายได้ หรือสีย้อม (dye) เช่น สีแดง (Red 6, 7, และ 21), สีเหลือง (Yellow 6), สีส้ม (Orange 5)
  • สูตรผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบใช้เป็นสีที่ไม่ละลายในตัวทำละลาย หรือเม็ดสี (pigment) ได้แก่ สีในกลุ่มเลคที่ละลายได้ในน้ำมัน (lake) เช่น Red 7 lake และ Yellow 5 lake และสีในกลุ่มอนินทรีย์ เช่น ผงสี iron oxides (red, yellow, brown, และ black), titanium dioxide, และ zinc oxide
  • สีพิเศษหรือสีเฉพาะ (specific pigments) เช่น ผงไมก้า (mica) ที่เคลือบด้วยสี iron oxides และ titanium dioxide และ bismuth oxychloride ให้สีออกเหลือบมุกเป็นประกาย

 สารสร้างฟิล์ม (Film-formers)  เพื่อช่วยให้สีสันติดทนนาน อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้สีลิปติกติดบนภาชนะหรือหน้ากากอนามัยที่สัมผัสกับริมฝีปาก

 ซิลิโคนเจล (Silicone elastomers)  ประกอบด้วยซิลิโคนและโพลีเมอร์ ช่วยเติมเต็มร่องและริ้วรอยบนริมฝีปาก ให้เนื้อสัมผัสที่เนียนนุ่มเหมือนกำมะหยี่ ให้ริมฝีปากอิ่มเอิบแลดูมีสุขภาพดี

 แว็กซ์ (Waxes)  ให้เนื้อลิปสติกและเพิ่มความแข็งของเนื้อให้ขึ้นรูปได้ เช่น beeswax, candelilla wax, carnauba wax, paraffin wax, ozokerite wax, microcrystalline wax, polyethylene, และ lanolin alcohol

 น้ำมัน (Oils) ไขมัน (Fats) และ บัตเตอร์ (Butters)  ให้ลิปสติกมีความนุ่มลื่น ให้ความชุ่มชื้นแก่ริมฝีปาก ป้องกันไม่ให้ริมฝีปากแห้งแตก และช่วยกระจายเม็ดสี ตัวอย่างสาร เช่น

  • น้ำมัน: castor oil, grape-seed oil, almond oil, olive oil, coconut oil, palm oil, และ triglyceride
  • บัตเตอร์: avocado butter, shea butter, และ cocoa butter
  • ไขมัน: isopropyl myristate, isopropyl palmitate, isostearyl isostearate, และ butyl stearate
  • ไฮโดรคาร์บอน: polyisobutene, mineral oil, petrolatum, isododecane, และ isoeicosane
  • ซิลิโคน: dimethicone และ cyclomethicone

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ป้องกันการหืนและการเกิดออกซิเดชันของส่วนผสม เช่น vitamin E, butylated hydroxyanisole (BHA), และ butylated hydroxytoluene (BHT)

สารกันเสีย (Preservatives) ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ เช่น phenoxyethanol

น้ำหอม (Fragrances) ปกปิดกลิ่นเบสลิปสติก ให้กลิ่นหอม

สารแต่งกลิ่นรส (Flavor) ให้ลิปสติกมีรสชาติที่ต้องการ เช่น sodium saccharin ให้รสหวาน

สารเพิ่มความติดทน (Fixative) ช่วยให้สีลิปติดทนนานมากขึ้น ไม่หลุดง่าย เช่น silicone resins

สารออกฤทธิ์ (Active ingredients) สารสำคัญที่ช่วยบำรุงหรือปกป้องริมฝีปาก เช่น สารกันแดด

 Did You Know รู้หรือไม่? 

     ตะกั่ว (Lead) ในสมัยก่อนเป็นสารที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในลิปสติกอย่างมาก ตะกั่วเป็นโลหะหนักพบการปนเปื้อนได้ในสีโดยเฉพาะสีแดง หากตะกั่วถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจะเป็นพิษต่อร่างกายสูงและยังถูกกำจัดได้ช้า ดังนั้นจึงเกิดการสะสมตะกั่วไว้ในร่างกาย เมื่อมีตะกั่วในร่างกายมากเกินไปจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย เบื่ออาหาร ท้องผูก ความจำถดถอย ไม่มีสมาธิ ซึม และชัก ปัจจุบันทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงกำหนดระดับตะกั่วที่สามารถปนเปื้อนได้สูงสุดไม่เกิน 20 ส่วนในล้านส่วน (ประมาณ 0.02 กรัมต่อลิตร) ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมากและปลอดภัยต่อร่างกาย

ข้อควรระวังในการใช้

     ลิปสติกเป็นเครื่องสำอางที่มีโอกาสเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงต้องระมัดระวังในการใช้เป็นพิเศษ มีส่วนผสมที่สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ คือ น้ำหอมและสารแต่งกลิ่น สารกันเสีย และสีหลีกเลี่ยงการใช้ลิปสติกที่เสื่อมสภาพและมีกลิ่นหืน เพราะหากลิปสติกไม่ได้มาตรฐานก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เนื่องจากโครงสร้างผิวริมฝีปากบอบบางมาก ต่างจากผิวหนังส่วนอื่น การทาลิปสติกจึงทำให้ริมฝีปากสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ง่าย อาการแพ้ลิปสติกจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยเริ่มตั้งแต่มีอาการริมฝีปากแห้งคัน ไปจนถึงริมฝีปากอักเสบ บวมหรือหายใจไม่ออก 

 Did You Know รู้หรือไม่? 

     การทาลิปสติกที่มีส่วนผสมของสารกันแดดช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งริมฝีปากลงได้ และลิปสติกไม่ควรใช้ร่วมกันเพราะอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้


The eyes are the window of the soul 
ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ

     ดวงตาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้คนได้ เพียงมองก็เปิดเผยถึงเจตนาที่แท้จริงได้ การแต่งแต้มดวงตาช่วยขับเน้นให้ดวงตามีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และยังสามารถระบุยุค ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ได้สังเกตจากการใช้สี เทรนด์ และสไตล์ เฉพาะที่ใช้ในการแต่งตา ตัวอย่างเช่น ชาวอียิปต์โบราณให้ความสำคัญกับการตกแต่งเครื่องสำอางรอบดวงตามาก เชื่อกันว่าการแต่งตามีจุดประสงค์เพื่อเลียนแบบรูปลักษณ์ของเทพเจ้า โดยเครื่องสำอางที่ใช้เรียกว่า "Kohl" เป็นผงสีดำใช้ในการตกแต่งเพื่อทำให้สีขนตา เปลือกตา และคิ้วเข้มขึ้น ส่วนผสมของ Kohl โดยส่วนใหญ่แล้วได้มาจากการผสมผสานระหว่าง กาลีนา ตะกั่ว ทองแดง ดินเหลือง พลวง ขี้เถ้า มาลาไคต์ แมงกานีส และถ่าน ในอิรักและอินเดียใช้ Kohl แทนอายแชโดว์ เพื่อตกแต่งให้เปลือกตาบนและขอบตาล่างเข้มขึ้น และมีความเชื่อว่าสามารถป้องกันดวงตาชั่วร้ายได้ "Maybelline" เป็นเจ้าแรกในโลกที่ผลิตเครื่องสำอางตกแต่งรอบดวงตาออกมาวางขาย ได้แก่ มาสคาร่า อายแชโดว์ และที่เขียนคิ้ว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตกแต่งรอบดวงตาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการแต่งหน้า หลายสิบปีที่ผ่านมาการตกแต่งรอบดวงตาเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมมากขึ้น ปัจจุบันได้มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ให้เลือกใช้ และสีเครื่องสำอางที่น่าดึงดูดใจก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

 Did You Know รู้หรือไม่? 

     วงจรการเจริญเติบโตตามปกติของขนตาโดยทั่วไปคือ 56 เดือน ตรงกันข้ามกับผมบนหนังศีรษะ (67 ปี) นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนังศีรษะมีผมยาว นอกจากนี้ขนตาจะยาวช้ามากโดยเฉลี่ย 0.12 มิลลิเมตรต่อวัน

ประเภทผลิตภัณฑ์ตกแต่งรอบดวงตา (Types of eye makeup products)

     ผลิตภัณฑ์ตกแต่งรอบดวงตามีหลากหลายประเภท ใช้บริเวณเปลือกตา ขนตา และคิ้ว เพื่อเน้นให้ดวงตาดูสวยงามน่าดึงดูด เครื่องสำอางตกแต่งรอบดวงตามีดังนี้

 ที่ปัดขนตา (Eyelash mascara) 

     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการตกแต่งขนตาให้ดูโดดเด่น ช่วยทำให้ขนตาหนาขึ้นและยาวขึ้น เปลี่ยนสีขนตาให้เป็นสีต่าง ๆ นอกจากสีดำ ขับเน้นดวงตาให้ดูน่าดึงดูด เห็นความแตกต่างระหว่างม่านตาและสีขาวของดวงตา ทำให้สีขาวของดวงตาคมชัดขึ้น ทำให้สีของอายแชโดว์คมชัดขึ้น เพิ่มลักษณะเฉพาะให้กับรูปลักษณ์โดยรวม ประสิทธิภาพของมาสคาร่าตัดสินจากการใช้งาน ลักษณะภายนอก ความติดทน และความสะดวกในการล้างออก จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดหาแปรงที่เหมาะสมสำหรับสูตรที่เลือก โดยมาสคาร่าที่วางขายส่วนใหญ่จะเป็นแบบแท่งฝาเกลียวหมุน ปลายด้านที่ใช้งานจะมีหัวแปรงในรูปแบบที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของที่ปัดขนตา


ปัจจุบันสูตรมาสคาร่าทั่วไปมี 3 สูตร ได้แก่

1. Anhydrous solvent based suspension ปราศจากน้ำในสูตร กันน้ำได้ดี แต่เลอะได้ง่ายและล้างออกยาก

  • ตัวทำละลาย (Solvent): ไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbons: isododecane, isoeicosane, polyisobutene), พาราฟิน (paraffin distillates: C8-9 isoparaffin), และซิลิโคนที่ระเหยได้ (volatile silicones: cyclomethicone เช่น cyclopentasiloxane)
  • แว็กซ์ (Waxes): beeswax, candelilla, carnauba, paraffin, polyethylene, microcrystalline, castor, synthetic, ceresin, และ ozokerite
  • เรซิ่น (Resin): aromatic/aliphatic, hydrogenated aromatics, polyterpene, synthetic, rosin, acrylics, และ silicones
  • สารสร้างเนื้อเจล (Gellant): clays (stearalkonium hectorite, quaternium-18 bentonite, quaternium-
    18 hectorite), metal soaps (Al, Zn stearates)
  • สี (Colorant): iron oxide (สีที่ใช้บ่อย ได้แก่ สีดำ สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน)
  • สารสังเคราะห์ที่ช่วยเพิ่มความยาวขนตา (Functional Fillers): spherical particles (PMMA, silica, nylon), boron nitride, starches


2. W/O emulsion

กันน้ำได้แต่เลอะได้ง่าย สามารถล้างออกได้ด้วยคลีนซิ่ง แบ่งส่วนผสมออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • Wax phase: แว็กซ์ที่มีจุดหลอมเหลวสูง (carnauba, candelilla, polyethylene), อิมัลซิไฟเออร์ละลายน้ำมัน (lanolin acids, low hlb nonionic), เม็ดสี, สารกันเสีย, ปิโตรเลียม, ซิลิโคนที่ระเหยได้
  • Water phase: อิมัลซิไฟเออร์ละลายน้ำ (alkali, medium HLB nonionic), สารกันเสีย
  • Additives: อิมัลชันโพลีเมอร์ (acrylics, polyvinyl acetates, polyurethanes)

 

3. O/W emulsion สูตรน้ำ

ในบางสูตรที่มีส่วนผสมของสารก่อฟิล์มจะสามารถกันน้ำได้และไม่เลอะ  แบ่งส่วนผสมออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • Water phase: น้ำ, สารช่วยแขวนลอย (suspending agent: hydroxyethylcellulose, gum arabic,xanthan gum),  สารสร้างฟิล์ม (film former: PVP, PVP/VA, PVA), เม็ดสี, อิมัลซิไฟเออร์ละลายน้ำ (alkali, high HLB nonionic)
  • Wax phase: แว็กซ์ที่มีจุดหลอมเหลวสูง, อิมัลซิไฟเออร์ละลายน้ำมัน (fatty acid, low HLB nonionic, co-emulsifier), พลาสติกไซเซอร์ (plasticizer: lanolin, liquid fatty alcohol), ปิโตรเลียม, สารกันเสีย
  • Additional film former: พอลิอะคริเลต (solution polyacrylate), emulsion polyacrylate, polyurethane, polyvinyl acetate, rosin derivatives, dimethiconol, proteins (wheat, soy, corn, keratin, oat, silk)

 ที่เขียนขอบตา (Eyeliner) 

     ช่วยให้เส้นขอบตาคมชัดมากขึ้น ให้ดวงตารู้สึกกลมโตหรือเฉี่ยวคมดูมั่นใจ มักใช้เขียนชิดริมขอบตาบนหรือล่าง เพื่อเป็นการเน้นให้ดวงตาดูเด่น มีหลากหลายสีและรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแบบดินสอ แบบของเหลวที่บรรจุในแท่งพร้อมเขียน แบบเจล และแบบฝุ่น

ปัจจุบันรูปแบบอายไลเนอร์หลักๆ มี 4 รูปแบบ ได้แก่

1. Liquid eyeliner ลิควิดอายไลน์เนอร์เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน ใช้งานง่าย พกพาสะดวก ให้เส้นไลน์เนอร์ที่คมชัด ฟิล์มติดทน แห้งไว กันน้ำ เม็ดสีละเอียด ส่วนประกอบคล้ายกับมาสคาร่าแต่มีความหนืดน้อยกว่า 
2. Pencil eyeliner อายไลเนอร์แบบแท่งดินสอ ให้สัมผัสที่นิ่ม ใช้เป็นดินสอเขียนขอบตาได้
3. Gel eyeliner อายไลเนอร์แบบเจล จะบรรจุในกระปุกมาพร้อมกับแปรงหัวตัดหรือหัวแบน เลอะได้ง่าย
4. Powder eyeliner อายไลเนอร์แบบฝุ่น ให้เส้นที่ไม่คมชัดแต่ดูฟุ้งเป็นธรรมชาติ หลุดได้ง่าย ไม่ติดทนนาน

 ที่เขียนคิ้ว (Eyebrow liners) 

     การเขียนคิ้วมีความสำคัญต่อองค์รวมของใบหน้าเพราะว่า คิ้วคือมงกุฎของใบหน้า สามารถบ่งบอกอารมณ์ของบุคคลได้ ที่เขียนคิ้วจึงถูกออกแบบมาเพื่อให้คิ้วดูดกหนา เรียงตัวสวยงามดูมีมิติ ขับเน้นให้ใบหน้าโดยรวมดูโดดเด่นขึ้น ให้คิ้วดูรับกับใบหน้าและสีผม มีหลากหลายรูปแบบแต่เป็นที่นิยมจะมีแบบดินสอและฝุ่น มีหลากหลายสี เช่น สีดำ น้ำตาล และสีอื่นๆ ที่ดูแฟนตาซี เช่น สีแดง สีน้ำเงิน สูตรที่เขียนคิ้วจะคล้ายกับดินสอเขียนขอบปาก 

ปัจจุบันที่เขียนคิ้วมีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

ดินสอเขียนคิ้ว (eyebrow pencil) ใช้วาดโครงคิ้ว เส้นคิ้ว และถมสีคิ้ว
สีฝุ่นเขียนคิ้ว (eyebrow powder) ใช้วาดโครงคิ้ว เส้นคิ้ว และถมสีคิ้ว สามารถไล่เฉดสีได้อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ค่อยติดทน
เจลเขียนคิ้ว (eyebrow gel) ใช้วาดโครงคิ้ว เส้นคิ้ว และถมสีคิ้ว มีความติดทนนาน เม็ดสีชัด
มาสคาร่าคิ้ว (eyebrow mascara) ใช้ปัดขนคิ้วให้เรียงเส้นสวยงาม ให้ขนคิ้วดูหนาขึ้นเป็นธรรมชาติ

 สีทาเปลือกตา (Eyeshadow) 

     อายแชโดว์ช่วยเพิ่มความลึกและมิติให้กับดวงตา ให้เปลือกตามีสีสันที่น่าดึงดูด โทนสีอายแชว์โดว์ที่ใช้สามารถบ่งบอกลุคได้ ทั่วไปแล้วการใช้อายแชโดว์จะเน้นตกแต่งเปลือกตาบนและใต้ตา โดยมีแปรงหรือฟองน้ำเป็นตัวช่วยในการลงสี โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นแป้งอัดแข็ง ส่วนในรูปแบบอื่นๆ อย่างเช่นแบบครีม แบบเจล และแบบแท่ง

ประเภทของอายแชโดว์ทั่วไปมี 3 ประเภท ดังนี้

1. Cream eyeshadow ครีมอายแชโดว์มักถูกบรรจุในกระปุกเพื่อให้ใช้งานได้ง่าย มาพร้อมหัวแปรงช่วยตกแต่งสี เนื้อครีมหนาหนัก ให้สีชัดเจนและติดทนนานกว่าแบบฝุ่น ใช้เป็นอายแชโดว์เบสได้ แต่หากอากาศร้อนอาจมันเยิ้มได้ง่าย

  • ตัวทำละลายที่ระเหยง่าย (Volatile solvents):cyclomethicone, hydrocarbons, isoparaffins
  • แว็กซ์ (Waxes): beeswax, candelilla, carnauba, paraffin, polyethylene, microcrystalline, castor, synthetic, ceresin, และ ozokerite
  • สารให้ความนุ่มลื่น (Emollients): esters, oils, silicones
  • สารก่อเจล (Gellants): bentonite derivatives, hectorite derivatives
  • สีและสีมุก (Colorants and pearls): เช่น FD&C Red No.40, FD&C Blue1, FD&C Yellow5, และ Green5
  • เบสและสารเติมแต่ง (Fillers): mica, talc, sericite, boron nitride, PMMA, nylon, starches, Silica, Teflon, Lauroyl lysine

2. Pressed-powder eyeshadow อายแชโดว์แบบอัดแข็ง ส่วนมากอัดอยู่ในพาเลทที่มีหลากหลายสี ใช้งานและพกพาได้ง่าย ไม่ค่อยติดทนนาน ส่วนผสมหลักๆ มีดังนี้

  • เบส (Fillers) เป็นเนื้อเบสหลัก ช่วยกระจายเม็ดสีและผงมุก ให้เนื้อที่ลื่นและสม่ำเสมอ เช่น talc, magnesium stearate, starch, bismuth oxychloride, และ mica
  • สารดูดซับ (Absorbents) เพิ่มความหนาแน่นของผงอายแชโดว์ทำให้บีบอัดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังให้เอฟเฟกต์พื้นผิวแบบด้านแก่อายแชโดว์และพื้นผิวที่ทา สามารถใช้สารดูดซับเพื่อดูดซับของเหลว เช่น น้ำหอม ก่อนที่จะผสมลงในผงอายแชโดว์ ด้วยคุณสมบัตินี้จึงสามารถดูดซับเหงื่อและน้ำมันบนใบหน้าและทำให้ผิวนุ่ม เช่น kaolin, starch, and calcium carbonate (chalk)
  • สารยึดเกาะ (Binders) ช่วยให้ผงแป้งยึดเกาะกัน กันน้ำ และเพิ่มการยึดเกาะระหว่างผงอายชาโดว์กับผิวให้ติดทนนาน เช่น starches, mineral oil, isopropyl myristate, และ silicone oils
  • สี (Colorants) สีที่ใช้ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น
  • สารกันเสีย (Preservatives) ป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในสูตร

3. Eyeshadow sticks อายแชโดว์แบบแท่งมักจะใช้แว็กซ์ น้ำมัน และส่วนผสมที่ให้เนื้อสัมผัสเป็นตัวกระจายสี มีเนื้อครีมนุ่มและทาได้ง่ายบนเปลือกตา ประเภทของส่วนผสมหลักและขั้นตอนการกำหนดสูตรจะคล้ายกับของลิปสติกแต่จะมีเนื้อที่นุ่มกว่าลิปสติก

ข้อควรระวังในการใช้

     การใช้ผลิตภัณฑ์แต่งตาหลายประเภททุกวันเพื่อเน้นดวงตาและดึงดูดความสนใจนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง เกิดการอักเสบ และอาการที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆ โดยเฉพาะมาสคาร่าและอายไลเนอร์สามารถปนเปื้อนแบคทีเรีย ยีสต์ และราได้ง่าย แพทย์ผิวหนังแนะนำให้ทิ้งมาสคาร่าหลังจากใช้งานไปแล้ว 3 เดือน และไม่ให้ใช้มาสคาร่าร่วมกันกับของผู้อื่น เนื่องจากแบคทีเรียจากผิวหนังของผู้ใช้รายอื่นอาจเป็นอันตราย


     เครื่องสำอางตกแต่งผิวหน้าถูกออกแบบมาเพื่อปกปิดจุดบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ บนผิวหน้า ไม่ว่าจะเป็นการปรับผิวที่หมองคล้ำและเหนื่อยล้า ปกปิดจุดด่างดำ ฝ้า กระ รอยสิวต่างๆ รอยคล้ำใต้ตา เบลอรูขุมขนบนผิวและริ้วรอยเล็กๆ ทำให้ผิวดูละเอียดขึ้นและดูเป็นธรรมชาติ สมัยก่อนปัญหาผิวถูกปกปิดด้วยเครื่องสำอางมีพิษสูง เช่น ตะกั่ว ปูนปลาสเตอร์ ชอล์ก และดีบุก ช่วยซ่อนผิวไม่สมบูรณ์ ให้ผิวขาว เพราะสมัยก่อนเชื่อว่าใบหน้าสีขาวคือใบหน้าที่บริสุทธิ์ ในยุโรปช่วงนึงผิวซีดได้รับความนิยมอย่างมาก หญิงสาวบางคนถึงกับต้องเสียเลือดเพื่อให้ได้ผิวที่ดูซีดเซียว และสารที่นิยมช่วยให้ผิวหน้าขาวสว่างคือตะกั่วนั่นเอง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยกับความเสียหายอย่างรุนแรงของผิวหนัง ปัจจุบันด้วยความเข้มงวดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทำให้เครื่องสำอางที่ใช้กับผิวมีความปลอดภัยมากขึ้น ส่งผลข้างเคียงได้น้อยมาก เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้ว่าสวยได้อย่างปลอดภัย

ประเภทผลิตภัณฑ์ตกแต่งผิวหน้า (Types of facial makeup products)
     เนื่องจากผิวหน้าแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไปจึงได้มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ตกแต่งผิวหน้าที่หลากหลายขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผิวดูสว่างเรียบเนียนมากที่สุด โดยจะมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรับสภาพผิวหน้าก่อนแต่งหน้า ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปกปิดปัญหาผิว รองพื้น รวมไปถึงแป้งที่ใช้ แต่ละผลิตภัณฑ์มีรายละเอียดดังนี้

 ไพรเมอร์ (Primer) 

คือ ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปรับผิวให้เรียบเนียน ช่วยเบลอรูขุมขน เติมเต็มร่องผิว และปกปิดส่วนที่ไม่เรียบเนียนบนใบหน้า เช่น หลุมสิว รอยแดง รอยดำ ร่องแก้ม ร่องใต้ตา ช่วยให้สีผิวดูสม่ำเสมอและยังช่วยให้เมกอัพติดทน ไม่ไหลเยิ้ม ไม่เป็นคราบ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผิวก่อนจะไปถึงขั้นตอนของการลงรองพื้น

 เมกอัพเบส (Base makeup) 

คือ ผลิตภัณฑ์ปรับสภาพผิวก่อนแต่งหน้าก่อนจะทำการแต่งหน้าด้วยผลิตภัณฑ์สีสันบนใบหน้าในขั้นตอนต่อไป โดยเมกอัพเบสจะช่วยให้ผิวมีสีที่สม่ำเสมอ อำพรางสีผิวและริ้วรอยก่อนที่จะลงรองพื้น โดยสีของเบสจะมีหลากหลายสี ได้แก่

  •  สีเขียว  สำหรับลดเลือนรอยแดง เช่น รอยสิว รอยเส้นเลือด ซึ่งสีนี้เหมาะกับคนผิวขาวเท่านั้น
  •  สีม่วง  สำหรับลดรอยหมองคล้ำ เช่น กระ ฝ้า รอยสิวต่างๆเพื่อช่วยให้ผิวดูสม่ำเสมอขึ้น
  •  สีฟ้า  สำหรับปรับสีผิวให้ดูสว่าง ทำให้หน้าที่โทรมจากการน้อยดึกให้ดูมีชีวิตชีวาขึ้น
  •  สีขาว  สำหรับการปรับให้สีผิวดูขาวขึ้นหรือใช้เป็นไฮไลท์บางส่วนของใบหน้า ส่วนมากจะใช้สำหรับการแต่งหน้าไปงานกลางคืน
  •  สีเหลือง  สำหรับปรับสีผิวให้เข้ากับรองพื้นยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับคนที่มีผิวสีเหลืองค่อนข้างแทน จะทำให้ผิวดูเนียนขึ้น สว่างขึ้น ลดรอยแดงได้ดี
  •  สีน้ำตาลบรอนซ์ สำหรับปรับให้ผิวดูเปล่งประกาย มีมิติและสีผิวเข้มขึ้น
  •  สีชมพูและสีแดง  สำหรับปรับให้ผิวดูอมชมพูซึ่งเหมาะสำหรับคนที่มีผิวขาวมากๆ หรือขาวซีดจะช่วยให้หน้าดูมีเลือดฝาด ชมพูระเรื่อ แลดูผิวสุขภาพดี
  •  สีพีช  สำหรับช่วยในเรื่องรอยคล้ำบนใบหน้า เน้นบริเวณใต้ตา เหมาะสำหรับคนที่มีเส้นเลือดใต้ตาสีฟ้า จะทำให้สีเส้นเลือดนั้นจางลง

 รองพื้น (Foundation) 

คือ ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปกปิดปัญหาผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผิวเรียบเนียนสม่ำเสมอ บางแบรนด์ผสมสารป้องกันกันแสงแดดด้วยเพื่อให้การปกป้องผิวได้อย่างคลอบคลุม โดยรองพื้นมีหลากหลายเนื้อและเฉดสี ได้แก่

  • รองพื้นเนื้อเหลว (Liquid foundation) มีเนื้อที่เหลวเหมือนน้ำ บางเบา ปกปิดได้ดี แต่แยกชั้นได้ง่าย ต้องเขย่าก่อนใช้งานทุกครั้ง
  • รองพื้นเนื้อครีม (Cream foundation) เนื้อครีมนุ่ม เกลี่ยง่าย ส่วนมากมีการปกปิดที่สูงมากจึงอาจหนักผิวได้ และล้างออกยาก ทำให้เกิดการอุดตันได้ง่าย
  • รองพื้นเนื้อแป้ง (Foundation powder) คือ แป้งที่ผสมรองพื้น โดยหลังการลงรองพื้นแล้ว สามารถเลือกใช้แป้งนี้ในการช่วยเสริมการปกปิด จะทำให้หน้ายิ่งดูเนียนขึ้นได้อีก
  • รองพื้นคุชชั่น (Cushion foundation) เป็นรองพื้นที่บรรจุในตลับทรงกลมมาพร้อมกระจกเงาและฟองน้ำ (Puff) ขนาดเล็กที่สามารถใช้กับเนื้อคุชชั่นและแตะลงบนผิวได้ทันที คุชชั่นจะให้เนื้อสัมผัสคล้ายเนื้อลิควิดจึงมีลักษณะค่อนข้างเหลว และมอบความเบาสบายผิว
  • รองพื้นแบบแท่ง (Stick foundations) เป็นรองพื้นแบบขึ้นรูป ไม่มีส่วนผสมของน้ำ มีส่วนผสมของแว็กซ์สูงเพื่อให้ขึ้นรูปได้ ใช้งานได้ง่าย ปกปิดได้ดี
  • รองพื้นทูเวย์ (Two-way foundations) เป็นแป้งอัดแข็งที่รวมคุณสมบัติของรองพื้นและแป้งทาหน้าเข้าด้วยกัน ให้ผิวดูเรียบเนียนเป็นธรรมชาติ
  • รองพื้นแบบครีมสู่แป้ง (Cream-to-powder foundations) รองพื้นเนื้อครีม บางเบา เนื้อสัมผัสที่เปลี่ยนเนื้อครีมเป็นเนื้อแป้ง ให้การปกปิดปานกลางเป็นธรรมชาติเนียนไปกับผิว

นอกจากนี้รองพื้นยังแบ่งระดับการปกปิด ดังนี้

  • Sheer coverage ปกปิดแบบบางเบา เหมาะสำหรับผิวที่ไม่มีปัญหาผิว ให้ผิวดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด
  • Sheer to medium coverage ปกปิดบางเบาถึงระดับปานกลาง เหมาะสำหรับผิวที่มีปัญหาเล็กน้อย เช่น จุดด่างดำเล็กๆ
  • Medium coverage ปกปิดปานกลาง เหมาะสำหรับผิวที่มีปัญหาไม่มาก เช่น จุดด่างดำ รอยสิวเล็กๆ
  • Full coverage ปกปิดระดับสูงสุด เหมาะสำหรับผิวที่มีปัญหาหลายอย่าง เช่น ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยสิว สีผิวไม่สม่ำเสมอ

ส่วนผสมที่ใช้ประกอบหลักของรองพื้น มีดังนี้

  • ฟิลเลอร์ (Fillers) เช่น  talc, magnesium stearate, starches, mica, และ bismuth oxychloride
  • เม็ดสี (Pigments) เช่น iron oxides, ultramarine, chrome hydrate, chrome oxide, titanium dioxide และ zinc oxide
  • สารให้ความนุ่มลื่น (Emollients) ให้เนื้อสัมผัสที่ลื่นและยังให้ความชุ่มชื้นอีกด้วย เช่น แว็กซ์ (beeswax), น้ำมันจากพืช, ไฮโดรคาร์บอน (mineral oil and isoeicosane), เอสเทอร์และกรดไขมัน (isopropyl palmitate, glyceryl stearate), ซิลิโคน (cyclomethicone, cyclopentasiloxane, dimethicon)
  • น้ำ (Water) เป็นส่วนประกอบพื้นฐาน
  • อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifiers) ทำให้ส่วนผสม 2 ส่วนที่เข้ากันไม่ได้ของสูตรมีความคงตัวและป้องกันการแยกตัวออกจากกัน เช่น sorbitan sesquioleate, sorbitan laurate, polysorbate 20
  • สารเพิ่มความหนืด (Thickening agent) เพื่อให้เม็ดสีสามารถแขวนลอยและกระจายตัวได้ดีไม่ตกตะกอนเมื่อเวลาผ่านไป เช่น hectorite, cellulose derivatives, gums, acrylate copolymers
  • สารกันเสีย (Preservatives) เช่น phenoxyethanol
  • สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ป้องกันการหืนของส่วนประกอบที่เป็นน้ำมัน เช่น BHA, BHT, vitamin E
  • สารคีเลต (Chelating agents) ช่วยจับประจุโลหะ เช่น disodium EDTA
    อื่นๆ เช่นbotanical extracts, sunscreens, fragrance, humectants

 Did You Know รู้หรือไม่? 

Oil-free และ Oil-control นั้นแตกต่างกัน

Oil-free คือในสูตรไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน แต่อาจมีส่วนผสมของซิลิโคนอยู่ และไม่ได้ช่วยลดความมันบนใบหน้าลง

Oil-control คือ ในสูตรมีสารช่วยควบคุมความมันบนผิวหน้า ออกแบบมาเพื่อลดความมัน ส่วนผสมที่ช่วยดูดซับเช่น talc, kaolin, and starch และอาจจะมีน้ำมันหรือไม่มีก็ได้

 แป้งโปร่งแสง (Translucent powder) 

คือ แป้งที่ให้การปกปิดได้น้อย ดูโปร่งแสง ช่วยซับความมันส่วนเกินบนผิวหน้า เนื้อแป้งลื่น ผสมเม็ดสีน้อยไม่เน้นการปกปิด ใช้ระหว่างวันได้

ส่วนผสมที่ใช้ประกอบหลักของแป้งทาหน้า มีดังนี้

  • เบสแป้งทาหน้า (Base powder) เช่น talc, magnesium stearate, starch (rice starch, corn starch, modified starches), boron nitrides, bismuth oxychloride, mica
  • สารดูดซับ (Absorbent) เช่น kaolin, starch, and calcium carbonate (chalk)
  • สารยึดเกาะ (Binder) เช่น mineral oil, isopropyl myristate, silicone oils
  • สี (Colorant) เช่น iron oxides (yellow, red, black), ultramarine (blue), chrome hydrate, chrome oxide (green)
  • สารกันเสีย (Preservative) เช่น phenoxyethanol
  • สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) เช่น BHA, BHT, vitamin E

อื่นๆ เช่น น้ำหอม, สารเพิ่มการลื่นไหล (nylon, polyethylene, polypropylene, silica beads, silicone powders)

 

 Did You Know รู้หรือไม่? 

     แป้งทัลมีบางคนเชื่อว่าสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ โดยทั่วไปแล้วแป้งทัลคัมมาจากแร่ธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีหลายเกรดแต่ละเกรดแบ่งตามความบริสุทธิ์ ซึ่งสิ่งที่เจือปนในแป้งคือแร่ใยหินที่เป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงได้สั่งห้ามใช้แป้งทัลที่ปนเปื้อนแร่ใยหิน จึงมั่นใจได้ว่าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแป้งทัลนั้นมีความปลอดภัย

 คอนซีลเลอร์ (Concealer) 

คล้ายคลึงกับรองพื้นแต่มีเม็ดสีที่มากกว่า ปกปิดได้มากกว่า ใช้เพื่อปกปิดปัญหาผิวเล็กๆ น้อยๆ เช่น รอยสิว รอยคล้ำใต้ตา มีรูปแบบทั้งแบบผง ครีม แท่ง และแบบเหลว

 บลัชออน (Blush-on) 

ช่วยเพิ่มสีสันให้กับพวงแก้ม มีทั้งแบบแป้งและครีม

 

ข้อควรระวังในการใช้

     ทุกวันนี้การแต่งหน้าเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของใครหลายๆคน เพื่อให้ใบหน้ามีสีสันและปกปิดปัญหาผิว นอกจากนี้การแต่งหน้ายังช่วยเพิ่มความมั่นใจในตนเองให้มากขึ้นและช่วยปรับเปลี่ยนลุคตามที่ต้องการ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการปกปิดปัญหาสิว ฝ้า กระ ความหมองคล้ำใต้ตา หรือปรับโทนสีผิวให้ดูกระจ่างใส เครื่องสำอางก็สามารถช่วยแก้ปัญหาผิวได้ตรงจุดเป็นอย่างดี แต่ข้อเสียของการแต่งหน้าก็มีอยู่เช่นกัน เมื่อเครื่องสำอางที่ตกแต่งลงบนผิวก่อให้เกิดการอุดตันจนเกิดสิวขึ้นมา เครื่องสำอางบางอย่างก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขนได้ เป็นการเพิ่มโอกาสในการเกิดสิวอุดตันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหลังแต่งหน้า เมื่อถึงเวลาที่ต้องการลบคราบเครื่องสำอางควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่สามารถลบเครื่องสำอางออกได้สะอาดหมดจนและอ่อนโยนต่อผิว

     เครื่องสำอางสำหรับตกแต่งผิวหน้านั้นมีการเติบโตขึ้นอย่างมากทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ รูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือวิธีใช้แบบใหม่ๆ รวมไปถึงสารที่ใช้ทำสูตรเครื่องสำอางด้วย นอกจากนี้เทรนด์การแต่งหน้าได้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้เมกอัพยังคงได้รับความนิยมอยู่เสมอไม่มีวันตายหายไปจากวงการเครื่องสำอาง ที่  TNP  เรามีรองพื้นที่มีคุณภาพพร้อมป้องกันแสงแดดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สนใจสร้างแบรนด์รองพื้นติดต่อเข้ามาได้เลยค่ะ!

บทความที่เกี่ยวข้อง
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.24 การทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตอน การทดสอบทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation)
การที่จะออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสูตรใหม่นั้นไม่ง่ายเลย ต้องมีการทดสอบมากมาย และหนึ่งในการทดสอบที่สำคัญคือ การทดสอบทางประสาทสัมผัส เป็นเสมือนการทดลองใช้ก่อนวางขายจริง
6 Aug 2024
R&D Talk นักวิจัยขอเล่าเรื่อง EP.27 การจดแจ้งชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง (FDA Registration)
ชื่อเครื่องสำอางที่แปลกใหม่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ตัวผลิตภัณฑ์ แต่การจะตั้งชื่อได้นั้นก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายให้ถูกต้อง
25 Jun 2024
11 Ingredients ที่เป็นประเด็นกับความยั่งยืน
ด้วยสภาวะโลกที่ร้อนมากขึ้นและทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกอย่างจำกัด ทำให้เครื่องสำอางเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะยืนหยัดเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีหลายแบรนด์ที่เปลี่ยนส่วนผสมเครื่องสำอางที่ไม่ยั่งยืนให้ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้ใช้
25 Jun 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ